11-30-2015, 11:20 AM
ปฏิกิริยาของพันธุ์หน้าวัวลูกผสมต่อโรคเน่าดำที่มีสาเหตุจากรา Phytophthora parasitica
อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และธารทิพย ภาสบุตร
สำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และธารทิพย ภาสบุตร
สำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมวิชาการเกษตร และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศึกษาปฏิกิริยาของพันธุ์หน้าวัวลูกผสมต่อโรคเน่าดำที่มีสาเหตุจากรา Phytophthora parasitica ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 โดยปลูกเชื้อแก่ใบหน้าวัวด้วยวิธีเด็ดใบ ทดสอบหน้าวัวสายพันธุ์/พันธุ์ลูกผสมกรมวิชาการเกษตร จากศูนย์วิจัยพืชสวนลำปาง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จำนวน 64 พันธุ์/สายพันธุ์ พบว่า หลังจากการปลูกเชื้อด้วยรา P. parasitica ไอโซเลท 46-An Ba K 1 L พบหน้าวัวสายพันธุ์ HC 075 เป็นสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคเน่าดำ พืชไม่เป็นโรค หน้าวัวสายพันธุ์ HC 054, HC 097 และ HC 125 ต้านทานต่อโรคเน่าดำแสดงอาการเป็นโรคเล็กน้อย แต่ขนาดแผลไม่ขยาย หน้าวัว 29 สายพันธุ์/พันธุ์ ต้านทานปานกลาง และหน้าวัว 30 สายพันธุ์/พันธุ์ อ่อนแอต่อโรคเน่าดำ นอกจากนี้ได้ทดสอบหน้าวัวพันธุ์พื้นเมืองและสายพันธุ์/พันธุ์ลูกผสมกรมวิชาการเกษตร จากศูนย์บริการวิชาการฯ เชียงใหม่ (ฝาง) อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 สายพันธุ์/พันธุ์ พบหน้าวัวสายพันธุ์ที่ได้จากการผสมระหว่างเปลวเทียนนอกกับ Fantasia เปลวเทียนกับผกามาศ และ Tropical กับเปลวเทียนต้านทานต่อโรคเน่าดำแสดงอาการเป็นโรคเล็กน้อย แต่ขนาดแผลไม่ขยาย หน้าวัว 7 สายพันธุ์/พันธุ์ ต้านทานปานกลาง และหน้าวัว 20 สายพันธุ์ อ่อนแอต่อโรคเน่าดำ