10-13-2015, 09:54 AM
ศึกษาความเป็นพิษของมะกล่ำตาหนูและกากเมล็ดชาเพื่อใช้เป็นสารกำจัดหนู
กรแก้ว เสือสะอาด, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์, ทรงทัพ แก้วตา และรัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
กรแก้ว เสือสะอาด, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์, ทรงทัพ แก้วตา และรัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
การทดสอบความเป็นพิษของมะกล่ำตาหนูผง และสารสกัดกากเมล็ดชา (27.899% ซาโปนิน) อัตราต่างๆ กับหนูพุกใหญ่ และหนูท้องขาวบ้าน ตามวิธีการของ ASTM(1977) และ EPPO(1975) โดยให้สารละลายของมะกล่ำตาหนูผงและสารสกัดกากเมล็ดชาทางปากอัตราต่างๆ กับหนูกลุ่มละ 10 ตัว บันทึกอาการและการตายของหนูภายใน 21 วัน วิเคราะห์หาค่าความเป็นพิษของมะกล่ำตาหนูและสารสกัดกากเมล็ดชาตามวิธีการของ Finney,1971 ผลปรากฏว่า ค่าความเป็นพิษเฉียบพลันทางปาก (Acute Oral LD50) ของมะกล่ำตาหนูที่มีต่อหนูพุกใหญ่ 201.83 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และหนูท้องขาวบ้าน 733.51 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และค่าความเปนพิษเฉียบพลันทางปากของสารสกัดกากเมล็ดชาที่มีต่อหนูพุกใหญ่ 114.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และหนูท้องขาวบ้าน 389.60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพเหยื่อกากเมล็ดชากับหนูทองขาวบ้าน โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD โดยสุ่มให้เหยื่อกากเมล็ดชา อัตรา 4 และ 8 % เป็นเวลา 2 วัน กับหนูท้องขาวบ้านอัตราละ 10 ตัว ผลปรากฏว่าหนูกินเหยื่อกากเมล็ดชาเฉลี่ย 3.77 กรัม/กิโลกรัม ไม่มีผลทำให้หนูตายและเหยื่อกากเมล็ดชาอัตรา 8% ทำให้หนูตาย 10% ภายใน 5 วัน เมื่อได้รับสารพิษ 2 วัน เฉลี่ย 17.03 กรัม/กิโลกรัม