11-24-2015, 03:29 PM
ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่ม diamide ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้าด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อย
สุชาดา สุพรศิลป์, สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สุชาดา สุพรศิลป์, สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่ม diamide ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้าด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อย ทำการทดลองในแปลงเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2555 เมื่อคะน้าอายุ 25-35, 35-45 และ 45-55 วัน วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 และ กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร flubendiamide (Takumi 20%WDG) อัตรา 9.6 - 14.4 กรัม a.i./ ไร่ และอัตรา 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 3 และ 4 พ่นสาร chlorantraniliprole (Prevathon 5.17%SC) อัตรา 8.3 - 12.6 กรัม a.i./ไร่ และอัตรา 12.4 - 18.6 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16%EC) อัตรา 25.6 - 38.4 กรัม a.i./ไร่ ทุกกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza ที่อัตราพ่น 20 ลิตรต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 6 ไม่พ่นสาร เริ่มพ่นสารเมื่อพบหนอนใยผักระบาดเฉลี่ย 0.6 ตัว/ต้น โดยอัตราการใช้สารเท่ากับอัตราการพ่นแบบน้ำมากที่อัตรา 80, 100 และ 120 ลิตรต่อไร่ เมื่อคะน้าอายุ 25 - 35, 35 - 45 และ 45 - 55 วัน ทำการตรวจนับหนอนใยผักทุก 4 วัน โดยสุ่มนับจากคะน้า 25 ต้นต่อแปลงย่อย ตลอดการทดลองพ่นสารจำนวน 5 ครั้ง เก็บเกี่ยวผลผลิตบนพื้นที่ 1 ตารางเมตรต่อแปลงย่อย บันทึกจำนวนต้นและน้ำหนักคะน้าตามคุณภาพตลาด ผลการทดลองพบว่า สาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16%EC) อัตรา 25.6 - 38.4 กรัม a.i./ไร่ มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผัก และให้ผลิตคุณภาพดีมากกว่าสารกลุ่ม diamide ซึ่งแม้จะเพิ่มอัตราการใช้สารก็ยังควบคุมหนอนใยผักได้ระดับหนึ่งเท่านั้นไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร ซึ่งอาจเกิดหนอนใยผักเกิดความต้านทานต่อสารกลุ่ม diamide หรืออัตราการใช้น้ำมีผลต่อการป้องกันกำจัด ดังนั้นจึงทำการทดลองโดยเปรียบเทียบกับสารฆ่าแมลงชนิดอื่นที่เกษตรกรใช้อยู่ในปัจจุบัน และเปรียบเทียบอัตราการใช้น้ำโดยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อยและการพ่นสารแบบน้ำมากเพื่อยืนยันผลในปีถัดไปรหัส