วิจัยและพัฒนาเครื่องขุดและเก็บมันสำปะหลัง
#1
วิจัยและพัฒนาเครื่องขุดและเก็บมันสำปะหลัง
ประสาท  แสงพันธุ์ตา, อัคคพล เสนาณรงค์, สุภาษิต  เสงี่ยมพงศ์, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ขนิษฐ์  หว่านณรงค์ และศักดิ์ชัย  อาษาวัง
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

         วิจัยและพัฒนาเครื่องขุดและเก็บหัวมันสำปะหลังแบบพ่วงติดท้ายรถแทรกเตอร์ขนาด 50 แรงม้า เพื่อแก้ปัญหาระบบการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่มีต้นทุนในการดำเนินการสูง และแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งดำเนินการโดยสร้างชุดทดสอบ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบที่ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักคือส่วนผาลขุด ส่วนการหนีบลำเลียง และส่วนกระบะบรรทุกชนิดลากพ่วง เวียนทดสอบและปรับปรุงแก้ไขเครื่องต้นแบบ โดยมีการทำงานคือเหง้ามันสำปะหลังจะถูกขุดด้วยส่วนผาลขุด จากนั้นส่วนการหนีบลำเลียง จะหนีบจับบริเวณตอของเหง้าแล้วลำเลียงส่งมายังกระบะบรรทุกเพื่อเก็บรวบรวมและนำมากองไว้เพื่อง่ายในการตัดหัวมันสำปะหลังและลำเลียงขึ้นรถบรรทุกต่อไป ผลการทดสอบเครื่องต้นแบบพบว่าส่วนผาลขุดและส่วนการหนีบลำเลียงควรห่างกัน 35 เซนติเมตร และส่วนผาลขุดควรมีซี่ยาว 15 เซนติเมตร โดยในการทดสอบใช้แรงงาน 4 คน เพื่อการเดินตามเก็บเหง้ามันสำปะหลังที่ไมถูกหนีบและหัวมันร่วงหล่น การตัดหัวมันสำปะหลัง และการขนขึ้นรถบรรทุก ในแปลงที่มีผลผลิตเฉลี่ย 5.76 ตัน/ไร่ ประสิทธิภาพการหนีบและลำเลียงเฉลี่ย 88.38 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการทำงาน 67.13 เปอร์เซ็นต์ อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน4.31 ลิตร/ไร่ และมีหัวมันสูญเสียรวม 3.47 เปอร์เซ็นต์ โดยหัวมันสูญเสียอยู่ในดิน 1.53 เปอร์เซ็นต์ และสูญเสียอยู่บนดิน 1.94 เปอร์เซ็นต์ มีความสามารถในการทำงาน 0.39 ไร่/ชั่วโมง


ไฟล์แนบ
.pdf   1888_2554.pdf (ขนาด: 149.94 KB / ดาวน์โหลด: 565)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม