ศักยภาพการเป็นวัชพืชของไม้ประดับต่างถิ่น
#1
ศักยภาพการเป็นวัชพืชของไม้ประดับต่างถิ่น
อัณศยา พรมมา ศิริพร ซึงสนธิพร ธัญชนก จงรักไทย เอกรัตน์ ธนูทอง
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         
          ทำการสารวจและเก็บตัวอย่างต้นในแหล่งจำหน่ายไม้ประดับ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล พื้นที่การเกษตรและสิ่งแวดล้อม ระหว่างตุลาคม 2559 - กันยายน 2561 พบไม้ประดับต่างถิ่นที่มีแนวโน้มการเป็นวัชพืช / มีรายงานการเป็นวัชพืช จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ บาหยา 3 ชนิด (Asystasia sp.) อเมซอน (Echinodosus cordifolius (L.) Griseb.) แว่นแก้ว (Hydrocotyle umbellata L.) คอนสวรรค์ (Ipomoea quamoclit L.) Oxalis debilis Kunth กระดุมทองเลื้อย (Sphagneticola trilobata (L.) Pruski) หูกระจง (Terminalia ivorensis A. Chev.) และบัวสวรรค์ (Zephyranthes carinata Herb.) ทั้ง 10 ชนิด สามารถสร้างหน่วยขยายพันธุ์ได้ และยังไม่พบศัตรูธรรมชาติที่สามารถทำลายไม้ประดับเหล่านั้นได้
 
          เลือกตัวอย่างไม้ประดับต่างถิ่น ได้แก่ กระดุมทองเลื้อย Asystasia sp.No.1, No.2 และ No.3 และบาหยาที่พบเป็นวัชพืช (A. gangetica) มาศึกษาการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ โดยการปักชา พบว่ามีการสร้างยอดใหม่ 5.0, 4.4, 5.0, 4.8 และ 4.0 ยอด/กิ่ง ตามลำดับ การศึกษาการงอกของเมล็ดพบว่า Asystasia sp.No.1, No.2 และ A. gangetica มีการงอกในห้องปฏิบัติการ 12.5, 30.5 และ 87.5 เปอร์เซ็นต์ และมีการงอกในสภาพเรือนทอลอง 16.0, 64.0 และ 38.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่กระดุมทองเลื้อยไม่พบการงอกตลอดระยะเวลา 30 วัน ทั้งในห้องปฏิบัติการ และในสภาพเรือนทดลอง เมื่อนา Asystasia sp.No.1, No.2 และ A. gangetica มาศึกษาการเจริญเติบโตการสร้างเมล็ด และวงจรชีวิต พบว่า Asystasia sp. No.2 และ A. gangetica มีความสูงมากสุด ไม่แตกต่างกันทำงสถิติ คือ 59.9 และ 63.3 เซนติเมตร ตามลำดับ Asystasia sp. No.2 มีความกว้างทรงพุ่ม และจำนวนใบมากสุด แตกต่างทำงสถิติจากกรรมวิธีอื่น คือ 142.7 เซนติเมตร และ 2,031.7 ใบ/ต้น ตามลำดับ A. gangetica มีจำนวนฝัก และจำนวนเมล็ด มากสุด แตกต่างทำงสถิติจากกรรมวิธีอื่น คือ 1,328.7 ฝัก/ต้น และ 4,477.7 เมล็ด/ต้น ตามลำดับ Asystasia sp. No.1 และ No.2 มีแขนงย่อย น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง มากสุด ไม่แตกต่างกันทำงสถิติ โดยมีแขนงย่อยอยู่ระหว่าง 81.1 - 99.6 แขนง/ต้น มีน้ำหนักสดอยู่ระหว่าง 208.4 - 281.5 กรัม/ต้น และมีน้ำหนักแห้งอยู่ระหว่าง 60.2 - 75.2 กรัม/ต้น เมื่อนำมาคำนวณวงจรชีวิต พบว่า Asystasia sp.No.1, No.2 และ A. gangetica มีวงจรชีวิต 229, 264 และ 60 วัน ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   92_2561.pdf (ขนาด: 1.38 MB / ดาวน์โหลด: 978)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม