ชีววิทยาและการแพร่กระจายของกกกระจุก
#1
ชีววิทยาและการแพร่กระจายของกกกระจุก
อัณศยา พรมมา, ศิริพร ซึงสนธิพร, ธัญชนก จงรักไทย, เอกรัตน์ ธนูทอง และกาญจนา พฤษพันธ์
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช

          การศึกษาชีววิทยาและการแพร่กระจายของกกกระจุก ดำเนินการทดลองระหว่างตุลาคม 2559 - กันยายน 2561 การสำรวจพบกกกระจุกแพร่กระจายในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรปราการ และนนทบุรี กกกระจุกมีเมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาล รูปกระสวย ปลายมีติ่งแหลม กว้าง 0.2 - 0.3 มิลลิเมตร ยาว 0.6 - 0.9 มิลลิเมตร และมีน้ำหนัก 100 เมล็ด 0.0028 กรัม ไม่พบการงอกในห้องปฏิบัติการ ส่วนในสภาพเรือนทดลองมีการงอก 32 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาการเจริญเติบโต และการสร้างเมล็ด พบว่ากกกระจุกมีความสูง จำนวนหน่อ จำนวนช่อดอก จำนวนเมล็ด น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง ไม่แตกต่างกันทางสถิติทุกกรรมวิธีทดลอง โดยมีความสูงอยู่ระหว่าง 26.2 - 30.7 เซนติเมตร จำนวนหน่ออยู่ระหว่าง 9 – 14 หน่อ/ต้น ช่อดอกอ่อนอยู่ระหว่าง 1 – 2 ช่อ/ต้น ช่อดอกแก่อยู่ระหว่าง 1 – 4 ช่อ/ต้น จำนวนเมล็ดอยู่ระหว่าง 35,333 - 115,977 เมล็ด/ต้น น้ำหนักสดอยู่ระหว่าง 12.23 - 26.02 กรัม/ต้น และน้ำหนักแห้งอยู่ระหว่าง 3.29 - 7.21 กรัม/ต้น และมีวงจรชีวิต 72 วัน และการศึกษาคุณสมบัติทางอัลลิโลพาธิเบื้องต้น ในห้องปฏิบัติการ พบว่าราก ใบ ก้านช่อดอก และช่อดอกของกกกระจุก สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของรากและลำต้นของไมยราบยักษ์ได้ โดยใบของกกกระจุก 0.5 กรัม สามารถยับยั้งการเจริญของลำต้นไมยราบยักษ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   90_2561.pdf (ขนาด: 587 KB / ดาวน์โหลด: 855)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม