06-05-2019, 01:36 PM
การประเมินศักยภาพความทนแล้งของปาล์มน้ามันลูกผสมเทเนอรา สายต้น สวก.1 ถึง สวก.16
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, สมพล นิลเวศน์, โสพล ทองรักทอง, ธงชัย คำโคตร, อุชฎา สุขจันทร์, สมพงษ์ สุขเขตต์ และพสุ สกุลอารีวัฒนา
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, สมพล นิลเวศน์, โสพล ทองรักทอง, ธงชัย คำโคตร, อุชฎา สุขจันทร์, สมพงษ์ สุขเขตต์ และพสุ สกุลอารีวัฒนา
โครงการประเมินศักยภาพความทนแล้งของปาล์มน้ำมันลูกผสมสายต้นสวก.1 - สวก.16 ดำเนินการใน 5 พื้นที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย (ศวพ.หนองคาย) ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ (ศวส.ศรีสะเกษ) ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น (ศปผ.ขอนแก่น) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน (ศวพ.น่าน) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส (ศวพ.นราธิวาส) ปัจจุบันต้นปาล์มมีอายุ 10 ปี ผลการศึกษาสมดุลน้ำในดิน ปี 2558 - 2561 พบว่า ศวพ.หนองคาย และศวพ.นราธิวาส มีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับความต้องการน้ำของปาล์มน้ำมัน 3,707 และ 1,135 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนศวส.ศรีสะเกษมีสมดุลน้ำขาดแคลนเล็กน้อย 202 มิลลิเมตร ศวพ.น่าน ขาด 1,092 มิลลิเมตร ส่วนศปผ.ขอนแก่นในดินร่วนเหนียวมีปริมาณการขาดแคลนน้ำสูงกว่าในดินทรายที่มีระดับน้ำ ใต้ดินสูงกว่า โดยมีปริมาณน้ำที่ขาด 1,307 และ 35 มิลลิเมตร ตามลำดับ
ผลผลิตปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 2 ที่ ศวส.ศรีสะเกษให้ผลผลิตสูงสุด 3,487 กิโลกรัม/ต้น/ปี และสวก. 11 ให้ผลผลิตต่ำสุด 1,312 กิโลกรัม/ต้น/ปี ที่ศวพ.หนองคาย ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 9 ให้ผลผลิตสูงสุด 1,661 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 2 ให้ผลผลิตต่ำสุด 845 กิโลกรัม/ต้น/ปี ศปผ.ขอนแก่นในชุดดินสตึก (ดินร่วนเหนียว) ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 5 ให้ผลผลิตสูงสุด 1,960 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 9 ให้ผลผลิตต่ำสุด 337 กิโลกรัม/ต้น/ปี ส่วนในชุดดินน้ำพอง (ดินทราย) ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 2 ให้ผลผลิตสูงสุด 2,254 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 3 ให้ผลผลิตต่ำสุด 13 กิโลกรัม/ต้น/ปี ที่ศวพ.น่าน ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 15 ให้ผลผลิตสูงสุด 1,684 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 13 ให้ผลผลิตต่ำสุด 519 กิโลกรัม/ต้น/ปี ส่วนศวพ.นราธิวาส ปาล์มน้ำมันลูกผสม สวก. 1 ให้ผลผลิตสูงสุด 2,389 กิโลกรัม/ต้น/ปี และ สวก. 4 ให้ผลผลิตต่ำสุด 568 กิโลกรัม/ต้น/ปี การศึกษาความสัมพันธ์ของสมดุลน้ำจึงคัดเลือก สายต้นที่ให้ผลผลิตต่อต้นต่อครั้งสูงสุด และสายต้นที่ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตรวมสูงสุด จำนวนศูนย์ละ 2 สายต้น นำมาหาความสัมพันธ์ของผลผลิตกับสมดุลน้ำในดินพบว่า สายต้น สวก. 14 (ศวส.ศรีสะเกษ) และสายต้น สวก. 3 (ศปผ.ขอนแก่น) แสดงความสัมพันธ์ของสมดุลน้ำและผลผลิตเชิงเส้นตรง โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.50 และ 0.75 ตามลำดับ ในขณะที่สมการโพลีโนเมียลมีระดับความสัมพันธ์สูงกว่า คือ 0.98 และ 0.94 ตามลำดับ ในพื้นที่มีปริมาณน้ำมากกว่าความต้องการของปาล์มน้ำมัน ความสัมพันธ์ของสมดุลน้ำและผลผลิตมีระดับต่ำมาก โดยสายต้น สวก. 2 (ศวพ.หนองคาย) และสายต้น สวก. 15 มีค่าสหสัมพันธ์เชิงสมการเส้นตรง 0.39 และ 0.01 ตามลำดับ ส่วนสมการโพลีโนเมียลมีค่าสหสัมพันธ์ 0.45 และ 0.05 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ของผลผลิตยังมีข้อมูลน้อยอยู่จำเป็นต้องศึกษาต่อเพื่อให้ได้สมการที่มีจำนวนตัวอย่างมากพอ