การจัดการวัชพืชเพื่อการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ
#1
การจัดการวัชพืชเพื่อการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา และทิพย์ดารุณี สิทธินาม
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

         การจัดการวัชพืชเพื่อการผลิตถั่วเขียวคุณภาพ วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ มี 16 กรรมวิธี ประกอบด้วย สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอก คือ pendimethalin, dimethanamid, butachlor, propisochlor, s-metolachlor, acetochlor, oxyfluorfen, sulfentrazone, oxadiazon, flumioxazin, imazapic, clomazone, metribuzin และ alachlor อัตรา 330, 108, 240,108, 240, 300, 24, 50, 150, 20, 20, 140, 140 และ 300 กรัมai/ไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับวิธีการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน และวิธีไม่กำจัดวัชพืช ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม 2554 ผลการทดลองพบว่า สารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกส่วนใหญ่ไม่เป็นพิษ และเป็นพิษเล็กน้อยต่อถั่วเขียว ยกเว้นสาร flumioxazin เป็นพิษปานกลาง ส่วน s-metolachlor และ clomazone เป็นพิษรุนแรง ส่วนประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชพบว่า สาร pendimethalin, s-metolachlor, oxyfluorfen, sunfentrazone, oxadiazon, flumioxazin, imazapic และ metribuzin สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี วัชพืชที่พบได้แก่ หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona (L.) Link) ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacastrum L.) และหญ้ายาง (Euphorbia heterophylla L.) และการใช้สาร flumioxazin pendimethalin และ imazapic มีผลผลิตถั่วเขียวมากที่สุด 565.50, 549.75 และ 537.75 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1994_2554.pdf (ขนาด: 144.98 KB / ดาวน์โหลด: 1,430)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม