ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนผีเสื้อในหน่อไม้ฝรั่ง
#1
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดหนอนผีเสื้อในหน่อไม้ฝรั่ง
อุราพร หนูนารถ, สมรวย รวมชัยอภิกุล, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร และสิริกัญญา ขุนวิเศษ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาประสิทธิภาพของสารในการป้องกันกำจัดหนอนผีเสื้อในหน่อไม้ฝรั่ง ดำเนินการที่แปลงเกษตรกร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีพ่นสารกำจัดแมลง พบว่ากรรมวิธีพ่นสาร methoxyfenozide (Prodigy 240 SC) อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร chlorfenapyr (Rampage) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร deltamethrin (Decis) อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร indoxacarb 15% SC (Ammate) อัตรา 15 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร lufenuron 5% EC (Math) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20ลิตร, กรรมวิธีพ่นสาร spinotoram 12% SC (Exalt) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นสาร flubendiamine 20% WDG (Takumi) อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีที่ 8 ไม่พ่นสารกำจัดแมลง โดยมีกรรมวิธีพ่นสาร chlorfenapyr (Rampage) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร เป็นกรรมวิธีพ่นสารเปรียบเทียบ พบว่าทุกกรรมวิธีที่มีการพ่นสารมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอมในหน่อไม้ฝรั่ง โดยมีจำนวนหนอนกระทู้หอมน้อยกว่าและแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารกำจัดแมลง


ไฟล์แนบ
.pdf   208_2560.pdf (ขนาด: 184.21 KB / ดาวน์โหลด: 444)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม