09-11-2018, 11:29 AM
วิจัยและทดสอบพันธุ์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ณัฐฎา ดีรักษา, อารมย์ แก้วละเอียด, วิทยา เจะจาโรจน์, ชญานุช ตรีพันธ์ และโนรี สะมะแอ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส
ณัฐฎา ดีรักษา, อารมย์ แก้วละเอียด, วิทยา เจะจาโรจน์, ชญานุช ตรีพันธ์ และโนรี สะมะแอ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส
การสำรวจตลาดไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จังหวัดยะลา และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าไม้ดอกที่มีปริมาณมากที่สุดในตลาด ได้แก่ เบญจมาศที่มีสีเหลือง และสีขาว ส่วนสีอื่นๆ กลุ่มผู้ค้าจะทำการเปลี่ยนดีได้โดยใช้ดอกเบญจมาศสีขาวแล้วให้ดูดสีที่ต้องการ คิดเป็น ๙๕% ส่วนดอกไม้อื่นๆ จะสั่งมาบ้างในกรณีที่ลูกค้าต้องการให้จัดด้วยดอกไม้อะไร และแหล่งที่สั่งซื้อจะมาจาก มาเลย์เชียเป็นส่วนใหญ่ แต่มีบ้างที่มาจากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ส่วนแหล่งปลูกไม้ดอกที่สำคัญได้ทำการสำรวจในจังหวัดยะลา ตรัง และสตูล พบว่ามีการปลูกใช้ในพื้นที่เป็นส่วนมากและยังไม่เพียงพอในพื้นที่ และมีไม้ดอกอื่นๆ ที่นำมาจากภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย เช่น หน้าวัว, แกลดิโอรัส, เฮลิโคเนีย, แอสเตอร์ เป็นต้น จะนำมาจำหน่ายตามที่ผู้ซื้อสั่งเท่านั้น คิดเป็น ๕% ของดอกไม้ทั้งหมด ช่วงเดือนที่มีการสั่งซื้อดอกไม้มากที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างคือช่วงเดือนมีนาคม กันยายน และธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสำเร็จการศึกษาของโรงเรียนต่างๆ ช่วงรับปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย และงานประจำจังหวัดที่จัดขึ้นของแต่ละพื้นที่ การทดสอบพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับคุณภาพผลผลิตขึ้นกับชนิดและพันธุ์ หน้าวัวสามารถเก็บดอกได้ตลอดทั้งปีเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับภาคใต้ตอนล่างคือพันธุ์เปลวเทียนภูเก็ต, เปลวเทียนลำปาง, HC021 และ HC249 ให้ผลผลิตได้ในช่วง 6 เดือนแรกหลังปลูก และให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.5 - 1 ดอกต่อเดือน ดาหลาพันธุ์บัวแดงใหญ่, ตรัง1 และบัวชมพู มีการเจริญเติบโตได้ดีมีการแตกกอเฉลี่ย 10 – 12 ต้น/กอ เบญจมาศพันธุ์ที่ให้จำนวนดอกต่อต้นสูงสุดคือ พันธุ์เหลืองยะลา, ชมพูหวาน และเหลืองขมิ้น มีสีดอกและลักษณะดอกที่ตลาดต้องการ เฉลี่ย 14.80 - 20.25 ดอก/ต้น แก่นตะวันระยะปลูกที่ให้ผลผลิตดีที่สุด คือ 60 x 50 cm., 50 x 50 cm. และ 30 x 50 cm. เฉลี่ย 0.748 - 0.788 กก./ต้น ในช่วงปลายฤดูฝน