03-07-2017, 03:21 PM
ศึกษาการขยายพันธุ์ว่านเพชรกลับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สุภาภรณ์ สาชาติ, พรรณผกา รัตนโกศล และแสงมณี ชิงดวง
สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน
สุภาภรณ์ สาชาติ, พรรณผกา รัตนโกศล และแสงมณี ชิงดวง
สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน
ศึกษาการขยายพันธุ์ว่านเพชรกลับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ มี 2 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ การชักนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเจริญให้เจริญเป็นต้น โดยนำหน่ออ่อนที่มีตา ขนาดยาวประมาณ 5-10 นิ้ว มาเลี้ยงบนสูตรอาหาร Murashige และ Skoog (1962)(MS) ร่วมกับการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ที่ระดับความเข้มข้น 0 1 2 3 4 และ 5 ppm นาน 45 วัน พบว่า ทุกสูตรอาหารชักนำให้เกิดต้นจากหน่ออ่อนได้ไม่แตกต่างกัน และได้จำนวน 1 ต้นต่อ 1 ชิ้นส่วน จากนั้นนำส่วนยอดของต้นอ่อนว่านเพชรกลับที่ได้ขนาดประมาณ 4 - 5 ซม. มาขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณยอด บนสูตรอาหาร Murashige และ Skoog (1962) (MS) ร่วมกับการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ที่ระดับความเข้มข้น 0 2 4 6 และ 8 ppm นาน 45 วัน พบว่า ทุกสูตรอาหาร MS ทั้งที่เติมและไม่เติม BA มีการเพิ่มปริมาณยอด/หน่อใหม่สูงประมาณ 4-6 ต้น และทุกสูตรอาหารสามารถเกิดรากได้ และดีที่สุดในอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม 6ppm BA