02-17-2017, 03:18 PM
วิธีการปลูกที่เหมาะสมต่อผลผลิตและปริมาณสารสำคัญของปัญจขันธ์พันธุ์อ่างขาง
อรุณี ใจเถิง, ศศิธร วรปิติรังสี, วัชรพล บำเพ็ญอยู่, วิมล แก้วสีดา และจรัญดิษฐ ดิษฐ์ไชยวงศ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
อรุณี ใจเถิง, ศศิธร วรปิติรังสี, วัชรพล บำเพ็ญอยู่, วิมล แก้วสีดา และจรัญดิษฐ ดิษฐ์ไชยวงศ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
ดำเนินการปลูกปัญจขันธ์พันธุ์อ่างขาง (Gynostemmapentaphyllum Makino cv. Angkang) ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ตั้งแต่ตุลาคม 2555 ถึงมิถุนายน 2557 เพื่อหาวิธีการปลูกที่เหมาะสมของปัญจขันธ์พันธุ์อ่างขางในเขตภาคเหนือตอนบนที่ได้ผลผลิตและสารซาโปนินรวมสูง การทดลองนี้ วางแผนการทดลองแบบ RCBD 7 กรรมวิธี 3 ซ้ำ โดยปลูกขึ้นค้างไม้ไผ่รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูสูงจากพื้น 0.30 ม. และ1.25 ม. ค้างเสาไม้ไผ่ทรงตั้งฉากกับพื้นดินสูง 1.50 ม. ค้างรูปสี่เหลี่ยมเสาทำด้วยไม้ไผ่ สูง 1.25 ม. ค้างไม้ไผ่รูปทรงสามเหลี่ยมสูง 1.00, 1.25 และ1.50 ม. โดยให้สูง 1.00 ม. เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ จากการปลูกครั้งที่ 1 (ตุลาคม 2555 – กุมภาพันธ์ 2556) เก็บเกี่ยวฤดูที่ 1 แล้วดูแลต่อฤดูที่ 2 (มีนาคม –มิถุนายน 2556) พบว่าการปลูกแบบขึ้นค้างเสาไม้ไผ่ทรงตั้งฉากกับพื้นดิน สูง 1.50 ม. มีผลผลิตแห้งมากที่สุดทั้งสองฤดู โดยในฤดูที่ 1 และ 2 มีผลผลิตแห้ง 370 และ 411 กก./ไร่ ตามลำดับ ส่วนการปลูกแบบขึ้นค้างไม้ไผ่รูปสี่เหลี่ยมคางหมูสูง 0.30 ม. และรูปทรงสามเหลี่ยม (กรรมวิธีเปรียบเทียบ) สูง 1.00 ม. มีผลผลิตแห้งน้อยที่สุดทั้งสองฤดู และไม่มีความแตกต่างทางสถิติ จากการปลูกครั้งที่ 2 เก็บเกี่ยวฤดูที่ 1 (ตุลาคม 2556 - กุมภาพันธ์ 2557) พบว่า การปลูกแบบขึ้นค้างไม้ไผ่รูปทรงสี่เหลี่ยมสูง 1.25 ม. มีผลผลิตแห้งสูงที่สุด 337 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ โดยกรรมวิธีเปรียบเทียบมีผลผลิตแห้ง 222 กก./ไร่ จากการดูแลต้นทดลองต่อในฤดูที่ 2 (มีนาคม – มิถุนายน 2557) พบว่าการปลูกขึ้นค้างรูปทรงสี่เหลี่ยมสูง 1.25 ม. มีผลผลิตแห้งสูงที่สุด 411 กก./ไร่ และกลุ่มที่ให้ผลผลิตแห้งสูงรองลงมา คือ ค้างรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูสูง 1.25 ม. รูปทรงตั้งฉากสูง 1.50 ม. และรูปทรงสามเหลี่ยมสูง 1.25 โดยมีผลผลิตแห้ง 360, 332 และ 331 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 4 กรรมวิธีดังกล่าวแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ โดยให้ผลผลิตแห้ง 258 กก./ไร่ จากกรรมวิธีค้างรูปทรงเหมือนกัน ในฤดูปลูกเดียวกันทั้งสองครั้งพบว่า ผลผลิตแห้งของเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ของปีถัดมาจะน้อยกว่าผลผลิตแห้งของเดือนมีนาคม - มิถุนายน และพบว่ารูปทรงค้างไม่มีผลต่อปริมาณสารซาโปนินรวมรูปทรงค้างที่เหมาะสมในการปลูกปัญขันธ์พันธุ์อ่างขางที่ให้ผลผลิตสูงและใช้ต้นทุนในการทำค้างต่ำได้กำไรสุทธิสูง คือ รูปทรงตั้งฉากสูง 1.50 ม.และรูปทรงสี่เหลี่ยมสูง 1.25 ม.