วิจัยและพัฒนากล้วยไม้
#1
วิจัยและพัฒนากล้วยไม้
ยุพิน กสินเกษมพงษ์ และคณะ

โครงการวิจัยการจัดการคุณภาพกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อการส่งออก
ยุพิน กสินเกษมพงษ์ และคณะ

          โครงการวิจัยการจัดการคุณภาพกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อการส่งออกประกอบด้วย 7 กิจกรรม จำนวน 20 การทดลอง ดำเนินการในศูนย์วิจัย สำนัก/สถาบัน ของกรมวิชาการเกษตร และแปลงของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ดำเนินงานระหว่างปี 2554 - 2558 มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ด้าน คือ 1. ด้านเทคโนโลยีการผลิตและการอารักขาพืชกล้วยไม้ (กิจกรรมวิจัยที่ 1) 2. ด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปกล้วยไม้ (กิจกรรมวิจัยที่ 2 และ 3) และ 3. ด้านการควบคุม/จัดการคุณภาพกล้วยไม้ตามมาตรฐานการส่งออก(กิจกรรมวิจัยที่ 4 5 6 และ 7)

          วัตถุประสงค์ที่ 1 กิจกรรมวิจัยที่ 1 พบว่า การพ่น glufosinate, trifloxysulfuron และ trifloxysulfuron+ametryn สามารถกำจัดวัชพืชใต้โต๊ะปลูก ได้แก่ คาดามีน หญ้ากาบหอย หญ้าตีนนกเล็ก ขมหินใบน้อยและหญ้าดอกขาวเล็กได้ การพ่นด้วยสาร flumioxazin, oxyfluorfen, oxadiazon, diuron และ ametryn สามารถกำจัดวัชพืชบนวัสดุปลูกได้ และการพ่นด้วยสาร thyram 80%G, diuron 80%WP และ copper sulfate 30%WP พ่น 3 ครั้ง บนวัสดุปลูกสามารถกำจัดตะไคร่น้ำ มอส คาดามีน และกระสังได้ดี ด้านศัตรูพืชพบว่า หนอนกระทู้หอมควบคุมประชากรได้ด้วยเชื้อจุลินทรีย์และสารฆ่าแมลง ได้แก่ ไวรัส SeNPV, แบคทีเรีย (Centari WDG), ไวรัส SeNPV ผสมแบคทีเรีย (Centari WDG), flubendiamide 20%WG, emamectin benzoate lufenulon 5%EC, novaluron 10%EC และ methoxyfenozide 24 %SC มีประสิทธิภาพดี การปล่อยไรตัวห้ำ A. cinctus จำนวน 2 - 5 ตัวต่อต้น ทุกสัปดาห์ จำนวน 7 ครั้ง สามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ได้ดีเทียบเท่ากรรมวิธีการพ่นสารฆ่าไร pyridaben 20%WP จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ การพ่นด้วยกากเมล็ดชา 1.5%W/V ร่วมกับการถอนวัชพืช สามารถควบคุมหอยซัคซิเนียในสวนกล้วยไม้ได้ และ niclosamide-olamine 83.1%WP อัตรา 20 – 40 กรัม / น้ำ 20 ลิตร และ metaldehyde 5%GB สามารถใช้กำจัดทาก P. Siamensis ได้ การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้าย ควรฉีดพ่นสารหมุนเวียนตามกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ spinetoram, emamectin benzoate และ fipronil หมุนเวียนในแต่ละเดือน ด้านโรคกล้วยไม้ในแปลงปลูกพบว่า การป้องกันกำจัดโรคดอกจุดสนิมที่เกิดจากเชื้อรา C. eragrostidis ควรใช้ mancozeb 80%WP สลับกับ captan 50%WP pyraclostrobin 25%W/V EC และ iprodione 50%WP การป้องกันกำจัดโรคใบเน่าดำที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. ควรพ่นสาร ได้แก่ carbendazim 50%WP, chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP การป้องกันกำจัดโรคใบปื้นเหลืองที่เกิดจากเชื้อรา P. dendrobii ควรพ่นสาร carboxin 75%WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร mancozeb 80%WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับ captan 50%WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และวิธีการประเมินศัตรูพืชแบบรวดเร็ว (IPM 1) การประเมินศัตรูพืชแบบตรวจนับศัตรูพืช (IPM 2) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับกล้วยไม้และให้ปริมาณและมูลค่าผลผลิต กำไร ตลอดจนสัดส่วนต้นทุนผลตอบแทน (BC) สูงกว่ากรรมวิธีเดิมของเกษตรกร

          วัตถุประสงค์ที่ 2 กิจกรรมวิจัยที่ 2 พบว่า การลดอุณหภูมิ ดอกกล้วยไม้ 10 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมงก่อนการบรรจุเพื่อการส่งออกสามารถรักษาคุณภาพและชะลอดอกตูมให้เหลืองช้า และการลดอุณหภูมิหลังจากที่รมด้วยเมทธิลโบรไมด์ สามารถลดการเกิดดอกตูมเหลืองได้ การรมด้วย 1-MCP ชะลอการเหลืองของดอกตูมได้ และการใช้สารพัลซิ่ง (pulsing solution) ก่อนการขนส่งคือ คลอรอกซ์ 0.5 - 1% หรือกรดซิตริก 150 - 300 ppm แช่นาน 1 หรือ 2 ชั่วโมง และสารแช่ปลายก้านในระหว่างการขนส่งด้วย 8-HQS 200 ppm + BA 5% + น้ำตาล 2% ทำให้กล้วยไม้มีอายุการป๎กแจกันมากขึ้น และเครื่องลดความชื้นช่อดอกกล้วยไม้แบบอุโมงค์ลม ช่วยลดระยะเวลาการลดความชื้นก่อนบรรจุ ทำให้กระบวนการในการแพคบรรจุรวดเร็วขึ้น และกล้วยไม้ยังคงคุณภาพดี กิจกรรมวิจัยที่ 3 พบว่า ในลำต้น ใบ และดอกกล้วยไม้กลุ่มสีขาว 5 N กลุ่มสีชมพูแอนนา และกลุ่มสีม่วงแดง. มีปริมาณน้ำมันโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.43 - 2.96, โปรตีนโดยเฉลี่ยร้อยละ 3.64 - 3.96, ไฟเบอร์โดยเฉลี่ยร้อยละ 44.15 - 50.25. องค์ประกอบทางพฤกษเคมีสารสกัดเอทานอลจากลำต้นกล้วยไม้อบแห้ง และสารสกัดรวม ใบ ดอกและลำต้น พบว่ามีสาร glycosides, Reducing sugars, Saponins, Flavonoids และ Terpenoids. ปริมาณสารฟิโนลิครวม (Total phenolic compounds) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activities) ของลำต้นกล้วยไม้และของสารสกัดรวมใบ ดอกและลำต้น พบว่า กลุ่มสีขาว 5N มีปริมาณฟิโนลิครวมโดยเฉลี่ย 40.58±2.41 และมีสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉลี่ยในช่วง 0.02±0.01 mg/ml , กลุ่มสีชมพูแอนนามีปริมาณฟิโนลิครวมโดยเฉลี่ย 42.75±2.78 และมีสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉลี่ยในช่วง 0.02±0.01 mg/ml, กลุ่มสีม่วงแดงมีปริมาณฟิโนลิครวมโดยเฉลี่ย 51.86±3.25 และมีสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉลี่ยในช่วง 0.02±0.01 mg/ml และ สารสกัดรวมใบ ดอกและลำต้นมีปริมาณฟิโนลิครวมโดยเฉลี่ย 53.24±5.26 และมีสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉลี่ยในช่วง 0.04±0.01 mg/ml

          วัตถุประสงค์ที่ 3 กิจกรรมวิจัยที่ 4 พบว่า การเพิ่มความเข้มข้นของแคลเซียมในสารละลายปุ๋ยเกิน 100 ppm ไม่ช่วยลดการฝ่อของดอกกล้วยไม้ แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศน่าจะป็นป๎จจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการฝ่อของ การเพิ่มสัดส่วนของฟอสฟอรัสในปุ๋ยหลังจากที่กล้วยไม้มีการเจริญสุดลำไม่ทำให้ผลผลิตช่อดอกเพิ่มขึ้น การให้สารละลายปุ๋ยสัดส่วน 4:2:5 เพียงอย่างเดียว มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าและมีปริมาณของช่อดอกในเกรดพิเศษและเกรดยาว ภายใต้โรงเรือนพรางแสงปกติการให้น้ำทั้งเช้าและเย็นมีผลให้มีแนวโน้มให้ช่อดอกเกรดพิเศษเพิ่มขึ้น แต่ภายใต้โรงเรือนหลังคาพลาสติกขนาดเล็กการให้น้ำเวลาเช้าเพียงครั้งเดียวให้ผลผลิตช่อดอกสะสมมากกว่าการให้น้ำเวลาอื่น แต่การให้น้ำทั้งเวลาเช้าและเย็นมีแนวโน้มทำให้ดอกกล้วยไม้ฝ่อน้อยกว่าการให้น้ำเวลาเช้าหรือเย็นเพียงครั้งเดียว และสารฆ่าแมลงที่ยังมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ T.palmi ในสวนกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อตัดดอกคือ fipronil อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ส่วนสารฆ่าแมลงชนิดอื่นๆ ได้แก่ abamectin อัตรา 20 - 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร และถัดมาเป็น abamectin อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร, dinotefuran 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ให้ผลป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในระดับพอใช้ได้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้สารฆ่าแมลงโดยพ่นแบบสลับกลุ่มสารที่มีกลไกการทำงาน (mode of action) ของสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันมากกว่า 3 กลุ่มขึ้นไปในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ T.palmi กิจกรรมวิจัยที่ 5 ระบบการเลือกคัดและตรวจจับศัตรูกล้วยไม้ด้วยการประมวลผลภาพเบื้องต้นด้วยโปรแกรม Matlab สามารถใช้การแยกหรือค้นหาหอยได้แต่ต้องดำเนินการเพื่อต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้ได้เครื่องต้นแบบที่มีความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วและมีราคาย่อมเยาว์ต่อไป และเครื่องดูดแมลงสร้างขึ้นสามารถตรวจจับแมลงศัตรูกล้วยไม้และเก็บแมลงที่จับได้ดี ไม่ทำให้เกิดการกระจายของแมลงในห้องปฏิบัติการปิด แต่ควรมีการปรับปรุงต้นแบบโดยการเพิ่มหัวดูดแมลงให้มีจำนวนหลายหัวเพื่อให้แรงงานใช้งานได้พร้อมๆ กัน โดยใช้เครื่องดูดแมลงเพียงเครื่องเดียว กิจกรรมวิจัยที่ 6 พบว่า กล้วยไม้หวายเอียสกุลที่ได้รับการส่งถ่ายยีน ACC oxidase โดยเทคนิค PCR และชักนำให้เป็นต้นกล้าพบว่า มีเปอร์เซ็นต์การคงอยู่ของยีน 4.5 เปอร์เซ็นต์ และการตรวจสอบด้วยการคัดเลือกในอาหารที่เติมสารปฏิชีวนะ hygromycin สามารถผ่านการตรวจสอบบได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ การคัดเลือกและทดสอบพันธุ์ใหม่พบว่า กล้วยไม้สกุลหวายตัดดอก คัดเลือกต้นดีเด่นไว้ 10 เบอร์ คือ 1)ศก.004-007 2) ศก.019-018 3)ศก.020-037 4)ศก.002-004 5)ศก.005-117 6)ศก.018-092 7)ศก.023-xxx 8)ศก.006-055 9) ศก.018-027 10) ศก.003-105 และสำรองไว้อีก 8 เบอร์ คือ 1) ศก.004-009 2) ศก.004-122 3)ศก.004-150 4)ศก.ศก.019-141 5) ศก.020-033 6) ศก.020-115 7) ศก.003-009 และ 8) ศก.003-129และ การทดสอบพันธุ์กล้วยไม้สกุลหวายกระถางคัดเลือกได้ 4 เบอร์ คือ 1)DA427 ศก.003 2) BN 064 ศก.068 3) BN067 ศก.231 และ 4) BN067ศก.167 กิจกรรมวิจัยที่ 7 พบว่า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้สกุลหวายทีติดเชื้อไวรัส CyMV และ ORSV โดยเทคนิคการย้ายอาหารให้โปรโตคอร์ม(subculture) ทำให้ต้นกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลอดเชื้อ CyMV สามารถนำไปปรับใช้ในการผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรคได


ไฟล์แนบ
.pdf   214_2558.pdf (ขนาด: 2.72 MB / ดาวน์โหลด: 8,653)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม