การศึกษาการจัดการธาตุอาหาร ดิน ปุ๋ย และโลหะหนัก ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับลักษณะดิน
#1
การศึกษาการจัดการธาตุอาหาร ดิน ปุ๋ย และโลหะหนัก ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับลักษณะดิน
สรัตนา เสนาะ, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, วนิดา โนบรรเทา, กิตจเมต แจ้งศริกุล, วริศ แคนคอน, ศิริขวัญ ภู่นา, วัลลีย์ อมรพล, อรัญญ์ ขันติวิชย์, ชูศักดิ์ สัจจพงษ์, สุปรานี มั่นหมาย, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ณัฐพงษ์ ศรีสมบัติ, ศราริน กลิ่นโพธิ์กลับ, อุชฎา สุขจันทร์, ประภาศรี จงประดิษฐ์นนท์, ไพรสน รุจิคุณ, จินดารัตน์ ชื่นรุ่ง, สมฤทัย ตันเจริญ, รัฐกร สืบคำ, สาธิต อารีรักษ์, สุรสิทธิ์ อรรถจารุสิทธิ์, สรรเพชญ์ อิ้มพัฒน์, ดาวรุ่ง คงเทียน, อนันต์ ทองภู, บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์, รมิดา ขันตรีกรม และอนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์

          ปัจจุบันราคาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยเคมีนั้นมีราคาสูงขึ้นมาก ดังนั้นเกษตรกรจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปัจจัยการผลิตปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงต้องพัฒนาคำแนะนำในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีความเฉพาะเจาะจงกับพื้นที่ดิน และปัญหาดินเสื่อมโทรมอันเนื่องจากผลกระทบของการเกิดมลพิษ จากการปนเปื้อนของโลหะหนักที่มีต่อคุณภาพของดินและผลิตผลทางการเกษตร เนื่องจากในปัจจุบันการปนเปื้อนของโลหะหนัก ในผลผลิตการเกษตรถือเป็นประเด็นสำคัญที่นำมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ดังนั้นการจัดการด้านธาตุอาหารพืช ดิน ปุ๋ย และโลหะหนัก ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับลักษณะดิน วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลอัตราการสูญหายของไนโตรเจนจากการระเหิด การชะล้างและในพื้นที่ลาดชัน ศักยภาพการดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และจุลธาตุของดินกลุ่มต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินการใช้ปุ๋ยที่มีความเฉพาะเจาะจงตามลักษณะดิน ให้ได้ข้อมูลปริมาณของโลหะหนักและคุณภาพดินในแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจกำหนดแนวทางหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการปนเปื้อนของโลหะหนักในระบบเกษตร โครงการวิจัยนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 - 2558 เป็นเวลา 5 ปี มีทั้งหมด 5 กิจกรรม 17 การทดลอง โดยกิจกรรมที่ 1 การประเมินการสูญหายของปุ๋ยไนโตรเจนจากดินภายใต้สภาพต่างๆ 4 การทดลอง ทำให้ได้ข้อมูลการสูญหายของปุ๋ยไนโตรเจนจากการระเหิดจากดินในสภาพห้องปฏิบัติการ 8 ชุดดิน สภาพพื้นปลูก 2 ชุดดิน การสูญหายปุ๋ยไนโตรเจนจากการชะล้างในดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3 ชนิดดิน และวิธีการป้องกันการสูญหายปุ๋ยไนโตรเจนในพื้นที่ลาดชันสำหรับมันสำปะหลัง 1 ชุดดิน กิจกรรมที่ 2 ศึกษาศักยภาพการดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัสของดินที่กลุ่มต่างๆ สำหรับใช้ในการประเมินการใช้ ปุ๋ยฟอสเฟตอย่างแม่นยำเฉพาะพื้นที่ 6 การทดลอง ได้ข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัสและคำแนะนำปริมาณความต้องการของปุ๋ยฟอสเฟตจากสมการคาดคะเน 8 ชุดดิน คำแนะนำปุ๋ยฟอสเฟตสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3 ชุดดิน คำแนะนำปุ๋ยฟอสเฟตสำหรับมันสำปะหลัง 1 ชุดดิน กิจกรรมที่ 3 ศึกษาศักยภาพการดูดซับและการปลดปล่อยโพแทสเซียมของชุดดินต่างๆ สำหรับใช้ในการประเมินการใช้ปุ๋ยโพแทชอย่างแม่นยำเฉพาะพื้นที่มี 2 การทดลอง ได้ข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับและการปลดปล่อยโพแทสเซียมและคำแนะนำปริมาณความต้องการของปุ๋ยโพแทชจากสมการคาดคะเน 8 ชุดดิน คำแนะนำปุ๋ยโพแทชสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 ชุดดิน กิจกรรมที่ 4 ศึกษาศักยภาพการดูดซับและการปลดปล่อยจุลธาตุ ของดินกลุ่มต่างๆ เพื่อประเมินการใช้ปุ๋ยจุลธาตุเฉพาะพื้นที่มี 2 การทดลอง ได้ข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับและการปลดปล่อยจุลธาตุและคำแนะนำปริมาณความต้องการของปุ๋ยจุลธาตุจากสมการคาดคะเน 4 ชุดดิน คำแนะนำปุ๋ยจุลธาตุสำหรับมันสำปะหลังและสับปะรด 1 ชุดดิน และกิจกรรมที่ 5 การจัดการดิน น้ำ พืช ที่เป็นปัญหาในพื้นที่การเกษตรมี 3 การทดลอง ได้ข้อมูลการปนเปื้อนโลหะหนักในดิน พืช และคุณภาพดินในแหล่งปลูกมันสำปะหลัง 5 จังหวัด และข้าวโพดฝักอ่อน 2 จังหวัด แนวทางการปรับปรุงแก้ไขการปนเปื้อนแคดเมียมในดิน 1 วิธี และข้อมูลการแพร่กระจายและสะสมแคดเมียมและตะกั่ว 1 พื้นที่


ไฟล์แนบ
.pdf   175_2558.pdf (ขนาด: 539.84 KB / ดาวน์โหลด: 3,861)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม