11-25-2016, 02:34 PM
การปรับปรุงพันธุ์ฟักทอง
สุภาวดี สมภาค, จรัญ ดิษฐไชยวงศ์, จิรภา ออสติน, มัลลิกา รักษ์ธรรม, จันทนา โชคพาชื่น, เสงี่ยม แจํมจำรูญ, เสาวนี เขตสกุล และกฤษณ์ ลินวัฒนา
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และสถาบันวิจัยพืชสวน
สุภาวดี สมภาค, จรัญ ดิษฐไชยวงศ์, จิรภา ออสติน, มัลลิกา รักษ์ธรรม, จันทนา โชคพาชื่น, เสงี่ยม แจํมจำรูญ, เสาวนี เขตสกุล และกฤษณ์ ลินวัฒนา
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และสถาบันวิจัยพืชสวน
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ปรับปรุงพันธุ์ฟักทองบริโภคผลสดตั้งแต่ปี 2554 - 2558 คัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ลักษณะทางการเกษตรดี ผลผลิตสูงและมีรสชาติดี ได้สายพันธุ์แท้ 7 สายพันธุ์ ได้แก่ PSK 2, PSK 4, PSK 5, PSK 8, PSK 10, PSK 17 และ PSK 18 ลักษณะผิวผลขรุขระ ยกเว้นสายพันธุ์ PSK 4 และ PSK 5 ให้ลักษณะผิวผลเรียบ ฟักทองทั้ง 7 สายพันธุ์ ให้สีของเนื้อผลเป็นสีเหลืองถึงเหลืองเข้ม ให้คำเฉลี่ยผลผลิต 2.3 - 3.0 ตันต่อไร่ น้ำหนักต่อผลตั้งแต่ 2.0 - 2.5 กิโลกรัม ความหนาเนื้อตั้งแต่ 2.5 - 3.0 เซนติเมตร เมื่อปลูกในฤดูแล้ง สายพันธุ์ที่มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงได้แก่ PSK 4, PSK 17 และ PSK 18 สายพันธุ์ที่ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในรสชาติ คือ PSK 17 และ PSK 18
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ได้พัฒนาพันธุ์ฟักทองบริโภคเมล็ดตั้งแต่ปี 2554 - 2558 พัฒนาพันธุ์โดยการคัดเลือกแบบบันทึกประวัติ สายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกผสมข้ามกับพันธุ์การค้า ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 3 คู่ผสม ได้แก่ PSK 4-14 × Styria, PSK 4-1-4 × Styria และ 3A-37 × Styria ปลูกและคัดเลือก 4 ชั่วอายุ คัดเลือกได้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ (PSK 4-14 × Styria)-4-3-8, (PSK 4-14 × Styria)-18-18-4 และ (3A-37 × Styria)-3-6-3 เมื่อปลูกเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ PSK 4-14 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์พบว่า ผลผลิตเมล็ดต่อต้น น้ำหนักแห้ง 100 เมล็ด และอายุเก็บเกี่ยวของพันธุ์ฟักทองที่ทำการเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าน้ำหนักเมล็ดต่อผล และความหนาเปลือกเมล็ดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สายพันธุ์ (3A-37 × Styria)-3-6-3 ให้น้ำหนักเมล็ดต่อผลสูงสุด 14.8 กรัม และสายพันธุ์ (PSK 4-14 × Styria)-4-3-8 ให้ความหนาเปลือกเมล็ดน้อยที่สุด 0.15 มิลลิเมตร และพบว่า ปริมาณสังกะสีในเมล็ดแห้ง สายพันธุ์ (3A-37 × Styria)-3-6-3 , (PSK 4-14 × Styria)-18-18-4 และ (PSK 4-14 × Styria)-4-3-8 มีปริมาณสังกะสี 12.9, 11.6 และ 9.6 มิลลิกรัมต่อเอนโดสเปิร์มแห้ง 100 กรัม ตามลำดับ