11-17-2016, 02:08 PM
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มคุณคาทางโภชนาการ
ละอองดาว แสงหลา, จารุวรรณ บางแวก, กัลยา วิธี, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, อรวรรณ จิตต์ธรรม, จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี, ภัควิไล ยอดทอง, โสพิศ ใจปาละ, พิมพ์นภา ขุนพิลึก, นภาพร คํานวณทิพย์ และนพพร ทองเปลว
ละอองดาว แสงหลา, จารุวรรณ บางแวก, กัลยา วิธี, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, อรวรรณ จิตต์ธรรม, จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี, ภัควิไล ยอดทอง, โสพิศ ใจปาละ, พิมพ์นภา ขุนพิลึก, นภาพร คํานวณทิพย์ และนพพร ทองเปลว
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เน้นศึกษาปริมาณสารไอโวฟลาโวน เหล็ก กาบ้า แอนโธไซยานินในถั่วเหลือง เทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณสารไอโซฟลาโวน ธาตุเหล็กและ/หรือลดสารต่อต้านการดูดซึม (ไฟเตท) และการพัฒนาคุณภาพน้ำมันถั่วเหลืองดําเนินวิจัยตั้งแต่ ปี 2554 - 2558 ผลการทดลองพบว่า ถั่วเหลือง 12 พันธุ์/สายพันธุ์ สามารถจัดกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ตามปริมาณสารสําคัญ คือ สูง ปานกลาง และต่ำ การปลูกถั่วเหลืองให้มีสารไอโซฟลาโวนสูง มีช่วงปลูกที่เหมาะสมในฤดูแล้ง เมื่อสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 60 - 76 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฤดูฝนมีปริมาณน้ำฝนสะสมเพิ่มขึ้นและมีความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 60 - 76 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การใช้สารเคมีกําจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ชื่อ โฟมีซาเฟน อัตรา 30 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ที่ระยะ R1 หรือ R5 ทําให้ถั่วเหลืองผลิตสารไอโซฟลาโวนเพิ่มขึ้นจากการไม่พ่น 51.8 - 65.2 และ 29.6 - 35.9 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูแล้งและฤดูฝน ตามลําดับ โดยไม่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตถั่วเหลืองและมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 0.30 บาท/กิโลกรัม และเมื่อนําถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง จะทําให้สารไอโซฟลาโวนรวมและสารไอโซฟลาโวนแต่ละชนิดในน้ำมันถั่วเหลืองสูงขึ้นกว่าการเก็บรักษาที่ 25 และ 10 องศาเซลเซียส ในขณะที่การเก็บรักษาน้ำมันถั่วเหลืองในทุกระดับอุณหภูมิ สารไอโซฟลาโวนจะลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาและสลายหมด เมื่อเก็บรักษานาน 8 เดือน ส่วนการเก็บรักษาถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 และศรีสําโรง 1 เก็บรักษาไว้ไม่เกิน 3 เดือน จะทําให้น้ำมันถั่วเหลืองที่สกัดได้มีคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นหืน โดยการเก็บรักษาที่อุณหภูมิสูง (อุณหภูมิห้อง) คุณภาพน้ำมันถั่วเหลืองลดลงเร็วกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ (25 และ 10 องศาเซลเซียส) ส่วนอายุการเก็บรักษาน้ำมันถั่วเหลืองที่อุณหภูมิต่ำ 10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน (12 เดือน) กว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิสูง (4 เดือน) (อุณหภูมิห้อง) สําหรับการปลูกถั่วเหลืองให้มีสารไฟเตทต่ำและ/หรือธาตุเหล็กสูงโดยการใช้ปุ๋ยฟอสเฟต ในรูปของ N-P2O5-K2O อัตรา 3-9-6 กิโลกรัม/ไร่ ทําให้มีปริมาณไฟเตทต่ำสุดและการใช้ไม่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตถั่วเหลือง สามารถนําไปใช้ในสภาพดินร่วนปนทราย ที่มีสภาพดินเป็นกรดอ่อนถึงกรด