การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Pantoea agglomerans ในพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
#1
การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Pantoea agglomerans ในพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเพื่อการส่งออก
ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, ชลธิชา รักใคร่ และรุ่งนภา ทองเคร็ง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชากักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เชื้อแบคทีเรีย Pantoea agglomerans สาเหตุโรคใบไหม้และโรคเหี่ยวของข้าวโพด (leaf blight and vascular wilt disease of maize) เป็นเชื้อที่มีความสำคัญทางกักกันพืช จากการที่ประเทศไทยมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นส้นทาง (pathway) ของเชื้อนี้ที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ เนื่องจากเป็นโรคที่ถ่ายทอดได้ทางเมล็ดพันธุ์ (seed transmission) จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจ ติดตามและเฝ้าระวังโรคเหี่ยวของข้าวโพดเชื้อนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในการจัดทำบัญชีรายชื่อศัตรูพืช วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช และการกำหนดพื้นที่ปลอดศัตรูพืช จากการสำรวจแหล่งปลูกข้าวโพด 12 แหล่งปลูก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2556 จำนวน 155 แปลง ได้แก่ เชียงราย จำนวน 15 แปลง เชียงใหม่ จำนวน 20 แปลง แม่ฮ่องสอน จำนวน 10 แปลง ตาก จำนวน 15 แปลง นครสวรรค์ จำนวน 15 แปลง ลำปาง จำนวน 5 แปลง แพร่ จำนวน 13 แปลง น่าน จำนวน 15 แปลง หนองคาย จำนวน 17 แปลง นครราชสีมา จำนวน 20 แปลง สระบุรี จำนวน 5 แปลง และลพบุรี จำนวน 5 แปลง ไม่พบอาการโรคเหี่ยวของข้าวโพด ได้ทำการเก็บตัวอย่างที่มีอาการใบไหม้ (leaf blight) ที่มีลักษณะอาการคล้ายกับอาการใบไหม้ที่เกิดจาก จำนวน 235 ตัวอย่าง นำมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย P. agglomerans ห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจตัวอย่างทั้งหมดพบว่า แบคทีเรียที่แยกได้ไม่ใช้แบคทีเรีย P. agglomerans แสดงให้เห็นว่า จากการสำรวจแหล่งปลูกข้าวโพด 12 แหล่งปลูก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 - กันยายน 2556 จำนวน 155 แปลง ไม่พบโรคใบไหม้และโรคเหี่ยวของข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P. agglomerans ในประเทศไทย


ไฟล์แนบ
.pdf   276_2556.pdf (ขนาด: 419.32 KB / ดาวน์โหลด: 1,799)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม