ศึกษาสูตรอาหารและรูปแบบใหม่ของเหยื่อโปรโตซัว
#1
ศึกษาสูตรอาหารและรูปแบบใหม่ของเหยื่อโปรโตซัว
ดาราพร รินทะรักษ์, ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ และกรแก้ว เสือสะอาด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดลองผลิตเหยื่อโปรโตซัวรูปแบบใหม่ที่มีเชื้อ Sarcocystis singaporensis ปริมาณ 2x10(5) สปอร์โรซีสต์ บรรจุอยู่ภายในเหยื่อที่ดัดแปลงใหม่ โดยมีส่วนผสมของน้ำมันข้าวโพด : แป้งทัลคัม : เมล็ดข้าวโพดบด : น้ำตาลทราย : แป้งสาลี : อาหารหนูชนิดเม็ด อัตราส่วน = 20 : 5 : 7 : 8 : 50 : 10 และเติมสาร xanthan gum ลงไปในเหยื่อรูปแบบใหม่ ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติที่สามารถจับกับน้ำซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำไว้ภายในทำให้สปอร์โรซีสต์ของโปรโตซัวมีชีวิตนานขึ้น จากนั้นทดสอบความชอบของหนูท้องขาวบ้าน (Rattus rattus) ต่อเหยื่อรูปแบบใหม่พบว่า หนูท้องขาวบ้านจำนวน 30 ตัว (เพศผู้ 15 ตัว, เพศเมีย 15 ตัว) ชอบกินเหยื่อแป้งนุ่มรูปแบบใหม่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P<= 0.05)

           ทำการคัดเลือกเชื้อโปรโตซัว S. singaporensis ที่มีความรุนแรงด้วยวิธี bio assay โดยให้เชื้อแก่หนูด้วย feeding tube ปริมาณ 2x105 สปอร์โรซีสต์ ได้เชื้อที่มีความรุนแรงทำให้หนูตาย 100 % จากมูลงูเหลือมเบอร์ S-82 และเบอร์ S -24 จากนั้นตรวจสอบการมีชีวิตของโปโตซัว S. singaporensis โดยการย้อมสี nucleic acid พบว่า เชื้อที่อยู่ในสาร xanthan gum นาน 1 เดือน, 2 เดือน, 3 เดือน,4 เดือนและ 5 เดือน ยังคงมีชีวิต 100, 100, 99, 96 และ 60 % ตามลำดับ และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพของเหยื่อรูปแบบใหม่ด้วยวิธี bio assay พบว่าทำให้หนูทดลองตาย 70, 50 และ 60 % ภายใน 27 วัน โดยเฉลี่ย (17-42 วัน; n=30) การทดลองนี้ยังไม่เสร็จสิ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพของเหยื่อรูปแบบใหม่ที่เก็บไว้นาน 4, 5 และ 6 เดือน และพัฒนารูปแบบที่สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น


ไฟล์แนบ
.pdf   1197_2552.pdf (ขนาด: 344.42 KB / ดาวน์โหลด: 875)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม