08-05-2016, 04:18 PM
วิจัยและพัฒนาสถานภาพการเป็นพืชอาศัยและวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อน สำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในผลเงาะเพื่อการส่งออก
สลักจิต พานคำ, อุดร อุณหวุฒิ, รัชฎา อินทรกำแหง, วลัยกร รัตนเดชากุล, วรัญญา มาลี, ชัยณรัตน์ สนศิริ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชุติมา อ้อมกิ่ง และจารุวรรณ จันทรา
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สลักจิต พานคำ, อุดร อุณหวุฒิ, รัชฎา อินทรกำแหง, วลัยกร รัตนเดชากุล, วรัญญา มาลี, ชัยณรัตน์ สนศิริ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชุติมา อ้อมกิ่ง และจารุวรรณ จันทรา
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการเลี้ยงเพิ่มปริมาณแมลงวันผลไม้ Oriental Fruit Fly, Bactrocera dorsalis (Hendel) จำนวนมากด้วยอาหารเทียมในห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มปริมาณไข่ และหนอนของแมลงวันผลไม้ B. dorsalis ได้ในจำนวนไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัว ในห้องปฏิบัติการ การศึกษาความทนทานต่อความร้อนของแมลงวันผลไม้ B. dorsalis ในระยะไข่เปรียบเทียบกับระยะหนอนวัยที่ 1, 2 และ 3 ในผลเงาะด้วยวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ (Modified Vapor Heat Treatment, MVHT) โดยใส่ไข่หนอนวัยที่ 1, 2 และ 3 ของแมลงวันผลไม้ จำนวน 15 ฟอง/ตัวต่อผล เข้าไปในผลเงาะโดยตรง (artificial inoculation) และนำไปอบไอน้ำเพื่อกำจัดแมลงวันผลไม้ ผลการทดลองพบว่า ในการอบผลเงาะด้วยวิธีการอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส นาน 40 นาที มีประสิทธิภาพกำจัดแมลงวันผลไม้ในระยไข่ หนอนวัยที่ 1, 2 และ 3 ได้ โดยมีอัตรการตายเฉลี่ยเท่ากับ 99.3, 98.9, 99.9 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าหนอนวัยที่ 1 มีแนวโน้มทนทานต่อความร้อนมากกว่าระยะไข่ หนอนวัยที่ 2 และ 3 (จากการทดลองจำนวน 3 ซ้ำ)