ประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในระยะหนอน
#1
ประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในระยะหนอน
ศรุต สุทธิอารมณ์, เกรียงไกร จำเริญมา, วิภาดา ปลอดครบุรี และบุษบง มนัสมั่นคง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียน (Batocera rufomaculata De Geer) ในระยะหนอน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2550 – กันยายน 2552 ในสวนทุเรียนเกษตรกร จังหวัดจันทบุรี จำนวน 2 แปลง ที่อำเภอมะขามและขลุง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ๆ ละ 1 ต้น เปรียบเทียบสารฆ่าแมลง 5 ชนิด ได้แก่ imidacloprid (Confidor 10 %SL), imidacloprid/betacyfluthrin (Solomon 21 %/9%DO), clothianidin (Dentosu 16 %SG), chlorantraniliprole (DPX-E2T45-5 SC 5 %SC), lambdacyhalothrin/thiamethoxam (Eforia 247 14.1%/10.6 %ZC) อัตรา 30 20 มิลลิลิตร 20 กรัม 20 และ 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เปรียบเทียบกับการพ่นน้ำเปล่าพบว่า สารฆ่าแมลงที่ให้ผลในการควบคุมหนอนเจาะลำต้นทุเรียนดี คือ imidacloprid/beta cyfluthrin, lambda cyhalothrin/thiamethoxam และ clothianidin ทำให้หนอนตาย 100.00, 99.27 และ 92.59 % ตามลำดับ รองลงมา คือ สาร chlorantraniliprole และ imidacloprid ทำให้หนอนตาย 71.36 และ 59.92 % ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1139_2552.pdf (ขนาด: 136.31 KB / ดาวน์โหลด: 584)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม