08-04-2016, 02:00 PM
การเฝ้าระวังการเกิดและการแพร่กระจายของรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของส้มโอ
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, ชนินทร ดวงสอาด และศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, ชนินทร ดวงสอาด และศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการสำรวจติดตามการระบาดของโรคจุดดำของส้มโอในเดือนตุลาคม 2550 – กันยายน 2551 ในแปลงที่ 1 อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พบโรคที่ใบในเดือนตุลาคม 2550 – มิถุนายน 2551 และพบโรคที่ผลในเดือนพฤษภาคม – กันยายน โดยมีความรุนแรงของโรค 15, 15, 33, 36 และ 57 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในแปลงที่ 2 อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พบโรคที่ใบในเดือนพฤศจิกายน 2550 – กุมภาพันธ์ 2551 และพบโรคที่ผลในเดือนพฤษภาคม – กันยายน โดยมีความรุนแรงของโรค 5, 5, 65, 66 และ 89 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในแปลงที่ 1 อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบโรคที่ใบในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2551 และพบโรคที่ผลในเดือนกรกฎาคม – กันยายน โดยมีความรุนแรงของโรค 10, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และในแปลงที่ 2 อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พบโรคที่ใบในเดือนตุลาคม 2550 – มีนาคม 2551 และพบโรคที่ผลในเดือนมิถุนายน – กันยายน โดยมีความรุนแรงของโรค 10, 15, 20 และ 25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
จากการสำรวจติดตามการระบาดของโรคจุดดำของส้มโอ ระหว่างดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2552 ทำการสำรวจโรคจุดดำจำนวน 3 แปลง ที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ในแปลงที่ 1 พบโรคที่ใบโดยมีความรุนแรงของโรคดังนี้ 2, 0, 0, 0, 0, 5, 5, 0, 0, 5, 15, 15 เปอร์เซ็นต์และพบโรคที่ผลใบโดยมีความรุนแรงของโรคดังนี้ 7, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0 เปอร์เซ็นต์ สำหรับแปลงที่ 2 พบโรคที่ใบโดยมีความรุนแรงของโรคดังนี้ 10, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 10, 15, 0 เปอร์เซ็นต์ และพบโรคที่ผลใบโดยมีความรุนแรงของโรคดังนี้ 20, 0, 0, 0, 0, 0, 0, 5, 5, 10, 15, 0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแปลงที่ 3 พบโรคที่ใบโดยมีความรุนแรงของโรคดังนี้ 10, 10, 0, 0, 0, 0, 0, 10, 10, 10, 10, 10 เปอร์เซ็นต์ และพบโรคที่ผลใบโดยมีความรุนแรงของโรคดังนี้ 40, 50, 0, 0, 2, 1, 8, 10, 10, 10, 10, 20 เปอร์เซ็นต์
สำรวจสถานการณ์โรคจุดดำพบการระบาดของโรคจุดดำที่จังหวัดสมุทรสงคราม ราชบุรี ตราด เชียงราย เชียงใหม่ ชุมพร นครศรีธรรมราช และสงขลา ระหว่างเดือนสิงหาคม 2550 – พฤศจิกายน 2551 พบโรคจุดดำบนส้มโอพันธุ์ทองดี ที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบโรคจุดดำบนส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ และพวงชมภู ที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พันธุ์จ้าวเสวย พบโรคจุดดำที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และพันธุ์ทับทิมสยาม พบโรคจุดดำที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช