ศึกษาช่วงเวลาการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ของส้มโอให้มีประสิทธิภาพ
#1
ศึกษาช่วงเวลาการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ของส้มโอให้มีประสิทธิภาพ
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ (Canker Disease) ของส้มโอที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. citri ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายในปี 2551 - 2552 โดยมีการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 5 กรรมวิธี 4 ซํ้า ในส้มโอพันธุ์ขาวทองดีโดยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช cuprous oxide 86.2 %WG อัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในช่วงเวลาที่ต่างกัน คือ พ่นสารทดลองทุก 7, 14, 21, 28 วัน และกรรมวิธีไม่พ่นสารทดลองเป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ เริ่มพ่นสารทดลองครั้งแรกเมื่อส้มโอเริ่มแสดงอาการของโรค ระยะเวลาในการประเมินความรุนแรงของโรคคือ 28 วัน ในปี 2551 พบว่า ส้มโอในกรรมวิธีที่พ่นสารทดลองทุก 7, 14, 21 และ 28 วัน มีระดับความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 1.64, 2.26, 2.29 และ 2.35 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารทดลองที่มีระดับความรุนแรงของโรคเท่ากับ 4.05 และระดับความรุนแรงของโรคในกรรมวิธีที่พ่นสารทดลองทุก 7 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่พ่นสารทดลองทุก 14, 21 และ 28 วัน ในปี 2552 พบว่า ส้มโอในกรรมวิธีที่พ่นสารทดลองทุก 7, 14, 21 และ 28 วัน มีระดับความรุนแรงของโรคเฉลี่ยเท่ากับ 1.75, 2.54, 2.30 และ 2.51 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสารทดลองที่มีระดับความรุนแรงของโรคเท่ากับ 3.70 และระดับความรุนแรงของโรคในกรรมวิธีที่พ่นสารทดลองทุก 7 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกรรมวิธีที่พ่นสารทดลองทุก 14, 21 และ 28 วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   1341_2552.pdf (ขนาด: 152.28 KB / ดาวน์โหลด: 427)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม