การพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่ม Triazole ในมะม่วง
#1
การพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่ม Triazole ในมะม่วง
วิสุทธิ เชวงศรี, รัชนี สุวภาพ และปิยะศักดิ์ อรรคบุตร

          การพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่ม Triazole ในมะม่วงโดยใช้เครื่อง Gas chromatograph (GC) ชนิด Electron capture detector (ECD) เพื่อให้ได้วิธีการตรวจวิเคราะห์ที่เหมาะสม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสาร Triazole ที่ให้ผลการทดลองที่ดี ได้แก่ propiconazole, tetraconazole, hexaconazole, penconazole และepiconazole โดยใช้วิธีสกัดสารพิษตกค้างจากวิธีประยุกต์ของ Steinwandter, 1985 คือ ทำการสกัดสารพิษตกค้างด้วย acetone, dichloromethane และ sodium chloride ทำการ clean up โดยใช้ sorbent และตัวชะ (eluant) ขนิดต่างๆ ผลปรากฏว่ามี 3 วิธีการที่อยู่ในเกณฑ์การยอมรับได้ของ %recovery ได้แก่ การใช้ Sep-Pak-C-18 ต่อกับ Sep-Pak -NH2 ชะด้วย acetonitrile ให้ %recovery ในช่วง 91 - 98% การใช้ PSA : SAX (1:1) ชะด้วย ethylacetate : hexane (1:1) มี %recovery 84 - 92% ยกเว้น hexaconazole มี %recovery เท่ากับ 48 และวิธีที่ใช้ Florisil เป็น sorbent ชะด้วย ethylacetate : hexane (1:1) มี %recovery 77 - 92%


ไฟล์แนบ
.pdf   910_2551.pdf (ขนาด: 948.5 KB / ดาวน์โหลด: 563)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม