06-29-2016, 02:09 PM
การตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีของข้าวฟ่างหวานที่ปลูกในดินชุดต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, กนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์ และสุรีย์พร ม้ากระโทก
รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, กนกทิพย์ เลิศประเสริฐรัตน์ และสุรีย์พร ม้ากระโทก
การศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีของข้าวฟ่างหวานที่ปลูกในดินชุดต่างๆของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชไร่นครราชสีมา ปี 2549 - 2550 ใช้ข้าวฟ่างหวานพันธุ์ริโอ ปลูกในฤดูฝนใช้ระยะปลูก 0.5 x 0.1 เมตร แถวยาว 8 เมตร วางแผนการทดลองแบบ split plot in RCB จำนวน 4 ซ้ำ โดยมีการ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 500 กก.ต่อไร่ และไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นปัจจัยหลัก อัตราปุ๋ยไนโตรเจน เป็นปัจจัยรอง มี 5 อัตรา คือ 1) 0 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ 2) 5 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ 3) 10 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ 4) 15 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ และ 5) 20 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ผลการศึกษาพบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในข้าวฟ่างหวานในอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่มีผลให้ผลผลิตต้นสดและผลผลิตเมล็ดของข้าวฟ่างหวานแตกต่างกันทางสถิติ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงขึ้นจะทำให้ผลผลิตต้นสดและผลผลิตเมล็ดเพิ่มขึ้นโดย การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนสามารถช่วยลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้ 5 - 10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยที่ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในข้าวฟ่างปลูกจะให้ผลผลิตต้นสดมากกว่าข้าวฟ่างตอและให้ผลผลิตเมล็ดสูงในข้าวฟ่างตอมากกว่าข้าวฟ่างปลูก ในดินร่วนปนทรายเมื่อหว่านปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีแนวโน้มว่าข้าวฟ่างหวานจะให้ผลผลิตต้นสด ผลผลิตเมล็ด และคุณภาพน้ำคั้นดีกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และข้าวฟ่างจะมีการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนเพียง 10 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่เท่านั้น ดังนั้น เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยมากกว่านี้เพราะสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ และเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตข้าวฟ่างหวานอีกด้วย