ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต
#1
ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต
ภาวนา ลิกขนานนท์, วิทยา ธนานุสนธิ์, ประพิศ แสงทอง, สุปรานี มั่นหมาย
สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร  

          การศึกษาหาจุลินทรีย์ที่มีในประเทศเพื่อนำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ดำเนินการศึกษาตามขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่รวบรวมจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติละลายฟอสเฟตจากตัวอย่างดินและรากพืชแล้วคัดเลือกจุลินทรีย์นั้นให้ได้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการละลายหินฟอสเฟตชนิดต่าง ๆ ในสภาพห้องปฏิบัติการ ศึกษาการใช้จุลินทรีย์ที่คัดเลือกไว้ร่วมกับหินฟอสเฟตในสภาพ micro-plot และสภาพแปลงทดลอง ศึกษาการละลายของฟอสฟอรัสรูปต่างๆ ทั้งอนินทรีย์และอินทรีย์ฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินโดยจุลินทรีย์ที่คัดเลือกไว้ เมื่อได้จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจึงศึกษาวิธีการผลิตจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟตให้เป็นรูปแบบปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตที่พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ผลการศึกษาได้จุลินทรีย์ที่สามารถละลายตะกอน CaHPO4 ที่ระยะเวลา 3 วัน ได้วงใสรอบโคโลนีของจุลินทรีย์มากกว่า 9 มิลลิเมตร จำนวน 60 ไอโซเลท และคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพละลายหินฟอสเฟตชนิดต่าง ๆ จากจุลินทรีย์ 60 ไอโซเลท ได้เชื้อราในสกุล Penicillium 3 ไอโซเลท และเชื้อแบคทีเรีย 2 ไอโซเลท เมื่อศึกษาการใช้จุลินทรีย์ที่คัดเลือกไว้ร่วมกับหินฟอสเฟตในสภาพ micro-plot และสภาพแปลงทดลองพบว่า การเพาะเชื้อรา Penicillium spp. ทั้ง 3 ไอโซเลทร่วมกับการใส่หินฟอสเฟตทำให้การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชทดสอบสูงกว่าการใส่หินฟอสเฟตแต่ไม่เพาะเชื้อรานอกจากนี้พบว่า การเพาะเชื้อรา Penicillium spp. ลงดินชุดต่างๆ ทำให้ค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดที่เป็นประโยชน์ในดิน อนินทรีย์ฟอสฟอรัสและอินทรีย์ฟอสฟอรัสสูงขึ้นกว่าการไม่เพาะเชื้อรา โดยเฉพาะอินทรีย์ฟอสฟอรัสมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างเด่นชัด เมื่อทดลองผลิตเชื้อรา Penicillium sp. ให้อยู่ในรูปแบบปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตที่พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบว่าการเลี้ยงเชื้อราในลักษณะ solid substrate fermentation ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีข้าวฟ่างเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ได้สปอร์จำนวนมากและมี shelf life ที่นานเพียงพอ และสามารถใช้ปุ๋ยหมักมูลวัวบดละเอียดเป็นวัสดุพาหะสำหรับการผลิตปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต


ไฟล์แนบ
.pdf   552_2551.pdf (ขนาด: 403.33 KB / ดาวน์โหลด: 1,673)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม