การเฝ้าระวังราเขม่าดำ Urocystis cepulae Frost ในพื้นที่ปลูกหอมแดง
#1
การเฝ้าระวังราเขม่าดำ Urocystis cepulae Frost ในพื้นที่ปลูกหอมแดง
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, ชนินทร ดวงสะอาด และทิพวรรณ กันหาญาติ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ประเทศไทยส่งออกหอมแดงไปประเทศอินโดนีเซียมีมูลค่า 500 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ในปี 2552 ประเทศอินโดนีเซียได้แจ้งว่า พบรายงานในประเทศไทยมีเชื้อศัตรูพืชที่เป็นศัตรูกักกันของประเทศอินโดนีเซียคือ ราเขม่าดำ (Urocystis cepulae) การนำเข้าจะต้องผ่านการตรวจรับรองและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชว่าจะต้องปราศจากรา U. cepulae จากประเทศผู้ส่งออก ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ลดขั้นตอนและระยะเวลาการออกใบรับรอง จึงมีความจำเป็นต้องทำการเฝ้าระวังเชื้อทั้งสองชนิดนี้ในหอมแดงที่จะส่งออกไปประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่ในแปลงปลูก โดยทำการสืบค้นข้อมูลและศึกษาลักษณะของรา U. cepulae ที่เข้าทำลายหอมแดงและกระเทียม จัดทำคู่มือการสำรวจ ดำเนินการตาม มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 6 (ISPM 6) แนวทางการเฝ้าระวัง คือ ดำเนินการสำรวจแบบเฉพาะเจาะจง และสุ่มเก็บตัวอย่างหอมแดง และกระเทียมในแปลงเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ในจังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ บุรีรัมย์ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี ลำพูน ลำปาง ศรีสะเกษ และอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2556 รวมทั้งสิ้นจำนวน 393 แปลง จำนวน 235,800 ตัวอย่าง ผลจากการสำรวจไม่ปรากฏรา U. cepulae ผลการศึกษานี้สามารถยืนยันได้ว่า แหล่งปลูกหอมแดงและกระเทียมในประเทศไทยไม่มี รา U. cepulae จึงสามารถรับรองว่าสินค้าหอมแดงและกระเทียมจากแหล่งปลูกของไทยปลอดจากราเขม่าดำ U. cepulae โดยไม่ต้องทำการตรวจรับรองก่อนการส่งออก ทำให้ประหยัดขั้นตอนและเวลาในการออกใบรองรองของกรมวิชาการเกษตร
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม