วิจัยและพัฒนาสถานภาพการเป็นพืชอาศัยและวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทอง
#1
วิจัยและพัฒนาสถานภาพการเป็นพืชอาศัยและวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลมะนาวเพื่อการส่งออก
สลักจิต พานคำ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์ และชัยณรัตน์ สนศิริ 
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ศึกษาอิทธิพลของระยะเวลาการให้ความร้อนต่อคุณภาพผลมะนาว (Citrus aurantifolia Swing) โดยการอบมะนาวด้วยวิธีอบไอน้ำ โดยวิธีเพิ่มอุณหภูมิผลขึ้นไปถึงระดับกำหนดอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้นเปรียบเทียบกับวิธีเพิ่มอุณหภูมิผลขึ้นไปแต่ละระดับอย่างช้าๆ โดยใช้ระยะเวลานาน เฉพาะในช่วงแรกของการเพิ่มอุณหภูมิผลมะนาวถึง 43 องศาเซลเซียส การอบมะนาวด้วยวิธีอบไอน้ำ ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ระดับ 95 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มอุณหภูมิผลจากภายในสุดผลมะนาวถึง 46 และ 47 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบคุณภาพของมะนาวเมื่ออุณหภูมิภายในผลคงที่ 46 และ 47องศาเซลเซียส นาน 1, 1:30 และ 2 ชั่วโมง

          การสูญเสียน้ำหนักของมะนาวที่ผ่านความร้อนทั้งสองกรรมวิธีไม่แตกต่างทางสถิติกับมะนาวไม่ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 46 องศาเซลเซียส แต่ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส การสูญเสียน้ำหนักแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของความเป็นกรดมะนาวที่ผ่านความร้อนทั้งสองกรรมวิธีพบว่า ความเป็นกรดของมะนาวลดลง และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับมะนาวไม่ผ่านความร้อน การอบไอน้ำมะนาวด้วยการให้ความร้อนทั้ง 2 วิธี ไม่ทำให้เนื้อมะนาวเกิดความเสียหาย แต่การอบมะนาวโดยวิธีเพิ่มอุณหภูมิผลขึ้นไปอย่างช้าๆ พบว่ามะนาวเสียหายจากความร้อนโดยรวมจากอาการสีผิวเปลือกมะนาวจากสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองบางส่วนจนกระทั่งทั่วทั้งผล แต่วิธีการให้ความร้อนอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส นาน 1:30 และ 2 ชั่วโมง มีแนวโน้มท้าให้ผิวเปลือกมะนาวมีการขยายและหดตัวทำให้ผิวเปลือกเกิดรอยย่นยุบตัวลง รอยดังกล่าวจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงเทาดำ ซึ่งพบอาการนี บางผลแต่ไม่รุนแรง การอบโดยวิธีเพิ่มระยะเวลาช้าหรือเร็วเกินไปมีผลกระทบต่อคุณภาพผิวเปลือกมะนาว ช่วงระยะเวลาในระหว่างการเพิ่มอุณหภูมิผลจากอุณหภูมิห้องถึง 43 องศาเซลเซียส มีความสำคัญมากในกระบวนการอบมะนาวด้วยวิธีอบไอน้ำ ถ้ามะนาวอยู่ภายใต้สภาพอุณหภูมิใช้เวลานานพอเหมาะจะกระตุ้นให้มะนาวสร้างความทนทานต่อความร้อน สามารถลดความเสียหายของมะนาวจากความร้อนได้ โดยทั่วไปมะนาวผ่านความร้อนมีการสูญเสียน้ำหนักมากขึ้น เมื่อพิจารณาข้อมูลจากงานวิจัยนี้ วิธีการกำจัดแมลงด้วยความร้อนกรรมวิธีอบไอน้ำโดยวิธีเพิ่มระยะเวลาช้า มีศักยภาพและเหมาะสมกับมะนาวมากกว่าวิธีการเพิ่มอุณหภูมิผลขึ้นอย่างเร็ว แต่จะต้องปรับระยะเวลาช้าให้เร็วขึ้นกว่านี้ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอาการเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดังนั้นจึงควรเลือกวิจัยพัฒนาวิธีการกำจัดแมลงด้วยความร้อนกรรมวิธีอบไอน้ำ เพื่อการยอมรับเป็นวิธีการก้าจัดศัตรูพืชด้านกักกันพืช สำหรับกำจัดแมลงวันผลไม้ในมะนาวก่อนส่งออกไปยังประเทศที่มีความเข้มงวดด้านกักกันพืช
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม