ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ป้องกันกำจัดหนอนใยผักพ่นสารแบบน้ำน้อย
#1
ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (Diamond back moth); Plutellaxylostella Linnaeus ด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อย
สุชาดา สุพรศิลป์, สุภางคนา ถิรวุธ, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          จากศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (diamond back moth); Plutellaxylostella Linnaeus ด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อย การทดลองที่ 1 ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่ม diamide ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้าด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza ทำการทดลองในแปลงเกษตรกร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2554 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตราสารออกฤทธิ์ 6.4 - 9.6, 8 - 12, 9.6 - 14.4, 11.2 - 16.8 และ 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร สำหรับการทดลองนี ผลการทดลองยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนเนื่องจากปัญหาจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น และมีโรคระบาด แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองที่ได้พบว่าสารกลุ่ม diamide ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในพื้นที่ที่ทำการทดลอง การทดลองที่ 2 ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้าด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza ทำการทดลองในแปลงเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2555 เมื่อคะน้าอายุ 25 - 35, 35 - 45 และ 45 - 55 วัน วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 และ กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 9.6 - 14.4 กรัม a.i./ ไร่ และอัตรา 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 3 และ 4 พ่นสาร chlorantraniliprole (Prevathon 5 . 17% SC) อัตรา 8.3 - 12.6 กรัม a.i./ไร่ และอัตรา 12.4 - 18.6 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) อัตรา 25.6 - 38.4 กรัม a.i./ไร่ และกรรมวิธีที่ 6 ไม่พ่นสาร ผลการทดลองพบว่า สาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) อัตรา 25.6 - 38.4 กรัม a.i./ไร่ มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผัก และให้ผลิตคุณภาพดีมากกว่าสารกลุ่ม diamide การทดลองที่ 3 ศึกษาอัตราสารออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักในคะน้า ทำการทดลองในแปลงเกษตรกร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2556 เมื่อคะน้าอายุ 25 - 35, 35 - 45 และ 45 - 55 วัน วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 19.2 - 28.8 กรัม a.i./ไร่ และกรรมวิธีที่ 3 พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 28.8 - 43.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 1-3 พ่นด้วยวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย (LV) ด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza ส่วนกรรมวิธีที่ 4 พ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 12.8-19.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 19.2 - 28.8 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 6 พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 28.8 - 43.2 กรัม a.i./ไร่ กรรมวิธีที่ 4-6 พ่นด้วยวิธีพ่นสารแบบน้ำมาก (HV) ด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำสูงประกอบหัวฉีดแบบปรับมุมพ่นได้ และกรรมวิธีที่ 7 ไม่พ่นสาร จากผลการทดลองพบว่า พ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 28.8 - 43.2 กรัม a.i./ไร่ มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก แต่มีต้นทุนรวมในการพ่นสารสูงที่สุด 9,000 บาท/ไร่/5ครั้ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลทางสถิติกรรมวิธีพ่นสาร spinosad (Success 12% SC) อัตรา 19.2 - 28.8 กรัม a.i./ไร่ มีต้นทุนรวมในการพ่นสาร 6,000 บาท/ไร่/5ครั้ง ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักไม่แตกต่างกัน ส่วนกรรมวิธีพ่นสาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 12.8 - 19.2 กรัม a.i./ไร่ ซึ่งมีต้นทุนรวมน้อยที่สุด 5,184 บาท/ไร่/5ครั้ง สำหรับวิธีการพ่นด้วยวิธีพ่นสารแบบ LV และ HV ให้ผลในการป้องกันกำจัดไม่แตกต่างกัน แต่วิธีพ่นสารแบบ LV ประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม