ศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผักด้วยวิธีการแบบน้ำน้อย
#1
ศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (Diamond back moth); Plutella xylostella Linnaeus ด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อย
สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูร, สุชาดา สุพรศิลป์, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงกลุ่มต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก Plutella xylostella (Linnaeus) ด้วยวิธีการพ่นสารแบบน้ำน้อยในคะน้า ทำการทดลอง 3 การทดลอง ในแปลงคะน้าของเกษตรกร อำเภอพนมทวน และท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี การทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 6 กรรมวิธี คือ ทำการพ่นสารฆ่าแมลง 5 ชนิด ได้แก่ 1) สาร flubendiamide (Takumi 20% WDG) อัตรา 80 - 120 กรัม a.i./ไร่ 2) สาร spinosad (Success120 SC 12% SC) อัตรา 28.8 43.2 กรัม a.i./ไร่ 3) สาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) อัตรำ 25.6 38.4 กรัม a.i./ไร่ 4) สำร chlorfenapyr (Rampage 10% SC) อัตรำ 24-36 กรัม a.i./ไร่ 5) เชื อ Bt (Xentari) อัตรำ 168x10(5) DBMU และ 6) กรรมวิธีไม่พ่นสาร ทำการพ่นสารเมื่อมีหนอนใยผักระบาด ผลการทดลองพบว่า สาร tolfenpyrad (Hachi Hachi 16% EC) มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผักได้ดีที่สุดให้ผลผลิต มีคุณภาพดีและปริมาณสูงสุด การทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน 5 กรรมวิธี คือ 1) กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อยมากโดยใช้เครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Micron X-1 2) กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อยด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพำยหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Wizza 3) กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำมากด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีดแบบฝักบัว 4) กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำมากที่เกษตรกรใช้ด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงดันน้ำประกอบก้านหัวฉีด 3 หัว และ 5) กรรมวิธีไม่พ่นสาร ทำการพ่นสารเมื่อพบหนอนใยผักระบาด ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารใช้สารกำจัดแมลง spinosad (Success 120 SC 12% SC) อัตรา 28.80, 36.00 และ 43.20 กรัม a.i./ไร่ โดยใช้อัตราพ่นน้ำน้อยมากที่ 5, 6 และ 8 ลิตร/ไร่ ใช้อัตราพ่นแบบน้ำน้อยที่ 10, 12 และ 15 ลิตร/ไร่ และใช้อัตราพ่นแบบน้ำมากที่ 80, 100 และ 120 ลิตร/ไร่ เมื่อคะน้าอายุ 25, 35 และมากกว่า 45 วัน ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีที่มีการพ่นสารสามารถควบคุมหนอนใยผักได้ไม่แตกต่างกัน ด้านผลผลิตพบว่ากรรมวิธีที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากที่สุดคือ กรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อยมากด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลมประกอบหัวฉีด Micron X-1 การทดลองที่ 3 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ จ ำนวน 7 กรรมวิธี คือ 1) กรรมวิธีพ่นสาร chlorfenapyr 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย, 2) กรรมวิธีพ่นสำร tolfenpyrad 16% EC อัตรำ 40 มิลลิลิตร/น ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสำรแบบน ำน้อย, 3) กรรมวิธีพ่นสำร spinosad 12% SC อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย, 4) กรรมวิธีพ่นสาร chlorfenapyr 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสำรแบบน้ำมาก, 5) กรรมวิธีพ่นสาร tolfenpyrad 16% EC อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำมาก, 6) กรรมวิธีพ่นสาร spinosad 12% SC อัตรำ 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสำรแบบน้ำมาก และ 7) กรรมวิธีไม่พ่นสาร ผลการทดลองสรุปได้ว่า ทุกกรรมวิธีที่มีการพ่นสารสามารถควบคุมหนอนใยผักได้ไม่แตกต่างกัน เมื่อมองถึงด้านผลผลิตพบว่า กรรมวิธีที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากที่สุดคือ กรรมวิธีพ่นสาร spinosad 12% SC อัตรา 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ด้วยกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม