การศึกษาอิทธิพลของรอยประสานที่มีต่อสมบัติเชิงกลของชิ้นงานยางที่ขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์อัด
#1
การศึกษาอิทธิพลของรอยประสานที่มีต่อสมบัติเชิงกลของชิ้นงานยาง ที่ขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์อัดและแม่พิมพ์ฉีด
นุชนาฏ ณ ระนอง, สมเจตน์ พัชรพันธ์, วัชรพงษ์ ชูแก้ว และธนวัฒน์ ตั้งเขื่อนขันธ์
สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร  กรมวิชาการเกษตร และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          การศึกษาอิทธิพลของรอยประสานที่มีต่อสมบัติเชิงกลของชิ้นงานยางที่ขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์อัดและแม่พิมพ์ฉีด เป็นการศึกษาเบื้องต้นด้านวิศวกรรมแต่ในมิติเชิงลึกด้านสมบัติการไหลของยางที่จะมีผลต่อกระบวนการผลิต การออกแบบแม่พิมพ์ ตลอดจนคุณภาพของชิ้นงานที่ได้ ที่ต้องสัมพันธ์กันนอกเหนือจากการออกแบบสูตรส่วนผสมของยางและสารเคมีซึ่งเป็นคุณภาพในส่วนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตระดับอุตสาหกรรม จากการศึกษาดังกล่าวพบว่า สมบัติการไหลและการประสานตัวของเนื้อยางขึ้นอยู่กับส่วนผสมยางและสารเคมี โดยมีชนิดของยางและสารตัวเติมเป็นปัจจัยหลัก เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีของยางและขนาดอนุภาคของสารตัวเติมมีผลต่อแรงอันตรกิริยา (interaction) ระหว่างยางและสารตัวเติมทำให้ความแข็งแรงของรอยประสานเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยดังกล่าว นอกจากนั้น อุณหภูมิ และแรงอัดในระหว่างกระบวนการผลิต ก็มีผลต่อความแข็งแรงรอยประสานเช่นกัน ทั้งนี้ ความต้านทานแรงดึงของชิ้นตัวอย่างที่มีรอยประสานจะต่ำกว่าชิ้นตัวอย่างที่ไม่มีรอยประสานโดยเฉพาะยางสังเคราะห์ NBR ที่มีเขม่าดำเป็นสารตัวเติม จะเห็นความแตกต่างชัดเจนกว่ายางสังเคราะห์ SBR และยางธรรมชาติ ที่มีปริมาณสารตัวเติมในระดับที่สูงกว่า 40 phr เมื่อเพิ่มปัจจัยแรงอัดและอุณหภูมิพบว่า แรงอัดที่เพิ่มขึ้นมีผลให้รอยประสานมีความแข็งแรงขึ้น ในทำนองเดียวกันเมื่อใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะช่วยให้ความแข็งแรงรอยประสานเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนลักษณะการไหลของยางในแม่พิมพ์ฉีดพบว่า การออกแบบทางวิ่งในแม่พิมพ์มีส่วนในการกำหนดตำแหน่งรอยประสานรวมถึงความแข็งแรงของรอยประสาน


ไฟล์แนบ
.pdf   1551_2552.pdf (ขนาด: 1.3 MB / ดาวน์โหลด: 2,391)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 5 ผู้เยี่ยมชม