การพัฒนาระบบการผลิตพริกเพื่อนำไปสู่มาตรฐานคุณภาพพืชอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี
#1
การพัฒนาระบบการผลิตพริกเพื่อนำไปสู่มาตรฐานคุณภาพพืชอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, ทิตติยา ธานี, บุญชู สายธนู, สุภาพร บ้งพรม และพเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ
กลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4

          การพัฒนาระบบการผลิตพริกเพื่อนำไปสู่มาตรฐานคุณภาพพืชอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกที่ปลอดภัยจากสารพิษโดยใช้ปัจจัยการผลิตอินทรีย์ทดแทนเคมี และแก้ปัญหาโรครากปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนให้กับเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรร่วมกับหน่วยงานอื่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำเนินการระหว่างปี 2551-2552 ในพื้นที่ตำบลหนองเหล่า และตำบลหนองอาง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริกใน 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 วิธีปรับปรุง การปลูกพริกโดยใช้ปัจจัยการผลิตอินทรีย์และเทคโนโลยีป้องกันกำจัดโรครากปม กรรมวิธีที่ 2 วิธีเกษตกรใช้ปัจจัยการผลิตเคมี ไม่ป้องกันกำจัดโรครากปม ผลการทดลองพบว่า วิธีปรับปรุง และวิธีเกษตรกร ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,491 และ 2,401 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ วิธีปรับปรุงให้ผลตอบแทน 27,952 บาท/ไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรเท่ากับ 2.02 ผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลผลิตพบว่า วิธีปรับปรุงไม่พบสารพิษตกค้าง ร้อยละ 67 วิธีเกษตรกรพบสารพิษตกค้างร้อยละ 100 คุณภาพของผลผลิตตามมาตรฐานวิธีปรับปรุงร้อยละ 83 วิธีเกษตรกรร้อยละ 85 วิธีปรับปรุงพบ ดัชนีการเกิดปมที่รากเฉลี่ย 0.85 (เกิดปมของระบบรากเล็กน้อย) วิธีเกษตรกรพบที่ระดับเฉลี่ย 4.2 (เกิดปม 51-75 %)


ไฟล์แนบ
.pdf   1826_2553.pdf (ขนาด: 125.24 KB / ดาวน์โหลด: 398)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม