01-04-2016, 04:09 PM
การใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema sp. ควบคุมหายทากซัคซิเนีย; Succinea chrysis ในสวนกล้วยไม้
ปราสาททอง พรหมเกิด, ชมพูนุท จรรยาเพศ, กรแก้ว เสือสะอาด, สาทิพย์ มาลี, วิไลวรรณ เวชยันต์, ปิยาณี หนูกาฬ และดาราพร รินทะรักษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ปราสาททอง พรหมเกิด, ชมพูนุท จรรยาเพศ, กรแก้ว เสือสะอาด, สาทิพย์ มาลี, วิไลวรรณ เวชยันต์, ปิยาณี หนูกาฬ และดาราพร รินทะรักษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทดสอบประสิทธิภาพในการพ่นไส้เดือนฝอยควบคุมหอยซัคซิเนียในสวนกล้วยไม้เกษตรกรที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้ S. riobrave และ S. carpocapsae วางแผนการทดลอง RCB 5 วิธีการ 4 ซ้ำ คือ ไส้เดือนฝอย S. riobrave และ S. carpocapsae ใช้อัตราเข้มข้น 2 และ 4 ล้านตัวต่อตารางเมตร ส่วนเปรียบเทียบกับวิธีการพ่นน้ำ โดยทำแปลงย่อยที่ล้อมรอบด้วยตาข่ายพื้นที่ 0.5 ตารางเมตร ปล่อยหอยจำนวน 15 ตัวต่อแปลงย่อย หลังจากพ่น 4 วัน นับจำนวนหอยตายในแปลงย่อยขนาด 0.5 ตารางเมตร พบว่า อัตราการตายของหอยที่ 4 วัน คือ 38.50, 42.50, 33.83 และ 47.66 % ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 5.00% และนำ S. carpocapsae อัตรา 2 ล้านตัวต่อตารางเมตร มาควบคุมหอยซัคซิเนียในสวนกล้วยไม้ที่จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดนครปฐมแปลงละ 1 ไร่ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน 2553 พบว่า มีจำนวนประชากรหอยลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น โดยแต่ละเดือนยังพบไส้เดือนฝอยอาศัยอยู่ในแปลงทดสอบลดลง (50,000-5000,000 ตัวต่อตารางเมตร) และดินในแปลงสวนกล้วยไม้ที่ทดสอบมีความเป็นกรด-ด่าง 6.5-8.0 ความชื้นดิน 60-90%