เปรียบเทียบประสิทธิภาพการควบคุมแมลงศัตรูพืช ของแมลงช้างปีกใสสกุล Mallada basalis และ
#1
เปรียบเทียบประสิทธิภาพการควบคุมแมลงศัตรูพืช ของแมลงช้างปีกใสสกุล Mallada basalis และ Plesiochrysa ramburi ในห้องปฏิบัติการ
ประภัสสร เชยคำแหง, รจนา ไวยเจริญ และอัมพร วิโนทัย
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกินของตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส Mallada basalis และ Plesiochrysa ramburi ในเหยื่ออาหาร เพลี้ยแป้ง Pseudococcus jackbeardsleyi ไข่ผีเสื้อข้าวสาร Corcyra cephalonica เพลี้ยอ่อนถั่ว Aphis craccivora และไรแดงอัฟริกันพบว่า ประสิทธิภาพการกินเหยื่อของแมลงช้างปีกใส M. basalis วัย 1,2 และ 3 สามารถกินเพลี้ยแป้งลายได้เฉลี่ย 37.60±12.78, 92.70±24.28 และ 247.65±52.1 ตัว ตามลำดับ กินไข่ผีเสื้อข้าวสาร 51.65±7.43, 262.10±47.59 และ 399.85±55.90 ฟอง ตามลำดับ กินเพลี้ยอ่อนถั่ว 49.50±18.04, 206.70±25.27 และ 288.70±67.34 ตัว ตามลำดับ และกินไรแดงอัฟริกันได้ 33.4±10.43, 76.25±20.35 และ 226.50±50.33 ตัว ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกินเหยื่อของแมลงช้างปีกใส P.ramburi วัย 1,2 และ 3 กินเพลี้ยแป้งได้เฉลี่ย 54.45±16.67, 163.75±30.19 และ 290.90±63.46 ตัว ตามลำดับ ไข่ผีเสื้อข้าวสารได้เฉลี่ย 32.10±13.32, 137.60±44.17 และ 207.95±82.90 ฟอง ตามลำดับ กินเพลี้ยอ่อนถั่วได้ 41.70±18.09, 160.45 ±35.69 และ 193.65 ±95.30 ตัว ตามลำดับ และกินไรแดงอัฟริกันได้เฉลี่ย 31.30±12.98, 94.90±43.54 และ 156.00±100.30 ตัว ตามลำดับ
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม