การประเมินความเสี่ยงในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมด้านคุณภาพทางเคมี
#1
การประเมินความเสี่ยงในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมด้านคุณภาพทางเคมี โลหะหนัก บริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติ เขตกรรมของประเทศไทย
จรีรัตน์ กุศลวิริยะวงศ์, สมสมัย เจริญรักษ์, เทวี แสนกล้า และญาณธิชา จิตต์สะอาด
กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์คุณภาพน้ำ ตั้งแต่ตุลาคม 2549 ถึงกันยายน 2553 จากแม่น้ำจำนวนทั้งสิ้น 58 สาย แบ่งออกเป็น ภาคเหนือ 6 ลุ่มน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ลุ่มน้ำ ภาคกลาง 4 ลุ่มน้ำ ภาคตะวันออก 3 ลุ่มน้ำ และภาคใต้ 3 ลุ่มน้ำ พบว่า คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรทางภาคเหนือ มีค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยตั้งแต่ 6.7-9.1 ค่าการนำไฟฟ้าเฉลี่ยตั้งแต่ 17-365 us/cm at 25 °C ปริมาณเกลือโซเดียมเฉลี่ตั้งแต่ 0.06-2.55 me/L เกลือคลอไรด์เฉลี่ยตั้งแต่ตรวจไม่พบ-1.22 me/L เกลือไบคาร์บอเนตเฉลี่ยตั้งแต่ 0.30-2.60 me/L ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยตั้งแต่ 6.8-8.9 ค่าการนำไฟฟ้าเฉลี่ยตั้งแต่ 9-1,072 us/cm at 25 °C ปริมาณเกลือโซเดียมเฉลี่ยตั้งแต่ 0.02-8.74 me/L เกลือคลอไรด์เฉลี่ยตั้งแต่ตรวจไม่พบ-8.30 me/L เกลือไบคาร์บอเนตเฉลี่ยตั้งแต่ตรวจไม่พบ-4.65 me/L และพบปริมาณเกลือโซเดียมและเกลือคลอไรด์ละลายอยู่สูงมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่บริเวณแม่น้ำมูล จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ พบว่า คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก มีค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยตั้งแต่ 6.8-8.6 และมีคุณภาพผันผวนมากที่สุด ในส่วนของค่าการนำไฟฟ้าเฉลี่ยตั้งแต่ 34-48,500 us/cm at 25 °C ปริมาณเกลือโซเดียมเฉลี่ยตั้งแต่ 0.09-477.17 me/L เกลือคลอไรด์เฉลี่ยตั้งแต่ตรวจไม่พบ -518.50 me/L เกลือไบคาร์บอเนตเฉลี่ยตั้งแต่ 0.25-3.95 me/L และภาคใต้คุณภาพน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยตั้งแต่ 6.8-8.4 ค่าการนำไฟฟ้าเฉลี่ยตั้งแต่ 29-381 us/cm at 25 °C ปริมาณเกลือโซเดียมเฉลี่ยตั้งแต่ 0.11-1.64 me/L เกลือคลอไรด์เฉลี่ยตั้งแต่ 0.08-1.79 me/L เกลือไบคาร์บอเนตเฉลี่ยตั้งแต่ 0.25-2.00 me/L ยกเว้นในบริเวณปากแม่น้ำ เช่น แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำระนอง และแม่น้ำตาปี นอกจากนี้ยังไม่พบการปนเปื้อนของกลุ่มโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว โครเมียม และแคดเมียมละลายอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ ที่สำรวจ ดังนั้น เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้บริเวณปากแม่น้ำจะมีความเสี่ยงในการใช้น้ำ และหากเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่พบปัญหาเรื่องดินเค็ม หรือบริเวณปากน้ำซึ่งมีปัญหาเรื่องน้ำทะเลหนุน หรือในบางลุ่มน้ำซึ่งพบปัญหาน้ำเค็มรุกเข้ามาในพื้นที่ เกษตรกรควรนำตัวอย่างน้ำมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบคุณภาพ และหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงคุณภาพน้ำ หากว่าน้ำมีคุณภาพไม่เหมาะสม เพื่อให้การใช้น้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหรือเลือกปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1963_2553.pdf (ขนาด: 824.48 KB / ดาวน์โหลด: 1,555)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การประเมินความเสี่ยงในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมด้านคุณภาพทางเคมี - โดย doa - 12-23-2015, 03:28 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม