การหาค่าสัมประสิทธ์ทางพันธุกรรมของแบบจำลอง CSM-CROPGRO-Soybean Model สำหรับถั่วเหลือง
#1
การหาค่าสัมประสิทธ์ทางพันธุกรรมของแบบจำลอง CSM-CROPGRO-Soybean Model สำหรับถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60
วลัยพร ศะศิประภา, วิระศักดิ์ เทพจันทร์, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, วิภารัตน์ ดำริเข้มตระกูล และณิชา โป๋ทอง
ศูนย์สารสนเทศ

         การใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชมาเป็นเครื่องมือในการศึกษาพัฒนาการและการเจริญเติบโตรวมทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของถั่วเหลืองจำเป็นต้องกำหนดค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของพันธุ์พืชนั้นๆ ก่อน ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้กว้าง แนะนำให้ปลูกได้ทั่วไปทุกแหล่งปลูก ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง และยังได้รับความนิยมปลูกมากยังไม่มีการศึกษาให้เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับ CSM-CROPGRO-Soybean ใน DSSAT4.5 จึงดำเนินการศึกษาเพื่อหาค่าสัมประสิทธ์ทางพันธุกรรมของถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ระหว่างปี 2551-2552 ใน 3 แหล่งปลูกได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ศวพ.เลย และศวพ.สุโขทัย ศึกษาพัฒนาการและการเจริญเติบโต และเก็บชีวมวลแยกเป็นส่วนต้น ใบและเมล็ดในระยะข้อที่ 3 (V3) ออกดอก (R1) ติดฝัก (R3) ติดเมล็ด (R5) เมล็ดพัฒนาเต็มที่ (R6) เริ่มสุกแก่ (R7) และสุกแก่เต็มที่ (R8) ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิต นำไปวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธ์ทางพันธุกรรมของถั่วเหลือง โดยใช้แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช CSM-CROPGRO-Soybean ค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ที่ได้สามารถใช้ในการประมาณการพัฒนาการของถั่วเหลืองได้แม่นยำใกล้เคียงกับค่าสังเกตุจากแปลงทดลอง


ไฟล์แนบ
.pdf   1862_2554.pdf (ขนาด: 140.33 KB / ดาวน์โหลด: 551)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การหาค่าสัมประสิทธ์ทางพันธุกรรมของแบบจำลอง CSM-CROPGRO-Soybean Model สำหรับถั่วเหลือง - โดย doa - 10-13-2015, 03:20 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 5 ผู้เยี่ยมชม