12-21-2015, 03:35 PM
ศึกษาการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยหมักเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในการผลิตกระเจี๊ยบเขียว
สมอจิตต์ เกื้อหนุน, สรัตนา เสนาะ, สมปอง หมื่นแจ้ง, พัชรินทร์ นามวงษ์ และศิริขวัญ ภู่นา
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
สมอจิตต์ เกื้อหนุน, สรัตนา เสนาะ, สมปอง หมื่นแจ้ง, พัชรินทร์ นามวงษ์ และศิริขวัญ ภู่นา
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
ศึกษาการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยหมักเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนในการผลิตกระเจี๊ยบเขียว ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี ในชุดดินทัพกวาง โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) มี 8 ตำรับการทดลอง 4 ซ้ำคือ (1) ไม่ใส่ปุ๋ย (2) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 24 กิโลกรัม N ต่อไร่ (3) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 24 กิโลกรัม N ต่อไร่ + ปุ๋ยหมัก (4) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 24 กิโลกรัม N ต่อไร่ + ปุ๋ยหมัก + ปุ๋ยพืชสด (5) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 18 กิโลกรัม N ต่อไร่ + ปุ๋ยหมัก (6) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 18 กิโลกรัม N ต่อไร่ + ปุ๋ยหมัก + ปุ๋ยพืชสด (7) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ + ปุ๋ยหมัก (8) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 24 กิโลกรัม N ต่อไร่ + ปุ๋ยหมัก + ปุ๋ยพืชสด โดยทุกตำรับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตและโพแทชรองพื้นอัตรา 8 กิโลกรัม P2O5 ต่อไร่ และ 16 กิโลกรัม K2O ต่อไร่ ตามลำดับ
ผลการทดลองปรากฏว่า กาารใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กิโลกรัม N ต่อไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมักที่มีปริมาณไนโตรเจน 20 กิโลกรัม N ต่อไร่ โดยน้ำหนักแห้ง ทำให้กระเจี๊ยบเขียวมีผลผลิตฝัก น้ำหนักแห้งตอซัง ปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในฝักและต้นเพิ่มขึ้นสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยเลยอย่างเด่นชัด แต่ไม่แตกต่างกับตำรับการทดลองปุ๋ยอื่นๆ ดังนั้น การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมคือ อัตรา 18 กิโลกรัม N ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยหมัก จึงเป็นกาารลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลง ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (VCR) จากการใช้ปุ๋ยในการผลิตกระเจี๊ยบเขียวสูงสุด