12-09-2015, 02:06 PM
การศึกษาประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมหนอนแมลงวันศัตรูในเห็ด
วิไลวรรณ เวชยันต และสาทิพย์ มาลี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
วิไลวรรณ เวชยันต และสาทิพย์ มาลี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การศึกษาประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลงในการควบคุมหนอนแมลงวันศัตรูในเห็ด ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนกันยายน 2553 แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. สำรวจชนิดและการระบาดของหนอนแมลงวันศัตรูในเห็ด โดยการเก็บตัวอย่างก้อนเชื้อเห็ดภูฏานที่มีหนอนแมลงวันเห็ดลงทำลาย โดยเก็บจากโรงเพาะเห็ดของเกษตรกรในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี นำมาตรวจนับจำนวนหนอนและดักแด้ของหนอนแมลงวันศัตรูเห็ดที่พบในก้อนเชื้อเห็ดภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า หนอนแมลงวันที่พบในก้อนเชื้อเห็ดมี 3 ลักษณะ โดยหนอนจะหลบซ่อนอยู่ในขี้เลื่อย หนอนมีขนาดเล็ก สีขาวครีมและสีส้ม มีลักษณะสีสันใกล้เคียงกับขี้เลื่อยซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้เพาะเห็ด และจำนวนดักแด้ที่พบมีตั้งแต่ 10-50 ดักแด้ต่อก้อน ลักษณะของดักแด้จะอยู่บริเวณหน้าก้อนเชื้อเห็ดใกล้กับปากถุง ดักแด้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ดักแด้ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน จึงฟักเป็นตัวเต็มวัยและได้ทำการทดลองเลี้ยงขยายหนอนแมลงวันในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มปริมาณสำหรับการทดลองโดยใส่ก้อนเชื้อเห็ดในกรงเลี้ยงแมลง ไม่สามารถเลี้ยงเพิ่มปริมาณหนอนแมลงวันให้มีปริมาณมากได้พอสำหรับการทดลองได้
2. ทดสอบประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอย 5 ชนิด กับหนอนแมลงวันศัตรูในเห็ดพบว่า Steinernema riobrave มีประสิทธิภาพทำให้หนอนแมลงวันเห็ดตายสูงที่สุด 95% รองลงมาคือ Steinernema siamkayai, Steinernema feltiae เท่ากับ 90.15, 90.10 สูงกว่าและแตกต่างทางสถิติจาก Steinernema carpocapsae ทำให้หนอนแมลงวันเห็ดตายเท่ากับ 74% และ Heterorhabditis bacteriophora มีประสิทธิภาพต่ำสุดทำให้หนอนตาย 70%