12-08-2015, 03:36 PM
ศึกษาวิธีการควบคุมคุณภาพการผลิตสปอร์โรซีสต์ของโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis
ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาราพร รินทะรักษ์ และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาราพร รินทะรักษ์ และปราสาททอง พรหมเกิด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การศึกษาวิธีการควบคุมคุณภาพการผลิตสปอร์โรซีสต์ของโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ได้ทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมคุณภาพของสปอร์โรซีสต์ที่เป็นผลผลิตที่ออกมาจากงูเหลือมแต่ละครั้ง และแต่ละล๊อตที่จะนำมาผลิตเป็นสารชีวินทรีย์กำจัดหนูโดยได้ทำการทดลองดังนี้คือ วิธีแรก ทำการตรวจสอบการมีชีวิตของสปอร์โรซีสต์ โดยใช้ nucleic acid stains และวิธีที่สองทำการทดสอบความรุนแรงของเชื้อโปรโตซัวโดยวิธี bioassay กับหนูท้องขาวบ้าน
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า วิธีการตรวจสอบการมีชีวิตของสปอร์โรซีสต์โดยใช้ nucleic acid stains นั้น ไม่สามารถบ่งบอกถึงความรุนแรงในการก่อเกิดโรคของโปรโตซัวในหนูได้ แต่การทดสอบกับหนูท้องขาวโดยตรง (bioassay) นั้นเป็นวิธีที่เหมาะสมในการตรวจสอบประสิทธิภาพของเชื้อโปรโตซัวของแต่ละครั้งของการผลิต แต่การใช้วิธีการย้อมสีนั้นจะช่วยในการตัดสินในการใช้ปริมาณสปอร์โรซีสต์อัตราตายที่เหมาะสมได้