ผลของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์
#1
ผลของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์
พวงผกา อ่างมณี, ยุทธนา แสงโชติ และสุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาผลของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบชนิดของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษต่อผึ้งพันธุ์ ทำการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ใช้ในการทดลองโดยนำผึ้งงานของผึ้งพันธุ์มาทำการทดลองที่หน่วยงานวิจัยผึ้ง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในเดือนตุลาคม 2550 - กันยายน 2553 วางแผนการทดลอง RCB 3 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ได้แก่ Bt (Xentari WDG) อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร Bt (Bactospeine) อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สารสกัดสะเดา (สะเดาไทย 111) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร chlorpyrifos/cypermethrin (Nurelle-L 505 EC) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร carbaryl (Sevin 85 WP) อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร lamdacyhalothrin (Karate 2.5 EC) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร ทำการทดสอบหาความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารชีวภัณฑ์จำนวน 8 กรรมวิธี โดยผสมสารที่ความเข้มข้นต่างๆ ในน้ำเชื่อมให้ผึ้งงานดูดกิน พบว่า 
1. Bt (Xentari WDG) ที่ความเข้มข้น 77.25, 154.5, 231.75, 309.0 ppm 
2. Bt (Bactospeine) ที่ความเข้มข้น 48, 96, 144, 192 ppm 
3. สารสกัดสะเดา (สะเดาไทย 111) ที่ความเข้มข้น 1, 10, 100, 1000 ppm 
4. ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae ที่ความเข้มข้น 1000, 2000, 3000, 4000 ตัว/ml 
5. chlorpyrifos/cypermethrin ที่ความเข้มข้น 1, 10, 100, 1000 ppm 
6. carbaryl ที่ความเข้มข้น 1, 10, 100, 1000 ppm 
7. lamdacyhalothrin ที่ความเข้มข้น 1, 10, 100, 1000 ppm 
8. Control (น้ำเชื่อม) 
บันทึกผลการตายของผึ้งงานที่ 48 ชั่วโมง เท่ากับ 3.3% และที่ 72 ชั่วโมงเท่ากับ 6.6%


ไฟล์แนบ
.pdf   1597_2553.pdf (ขนาด: 52.53 KB / ดาวน์โหลด: 572)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
ผลของสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชต่อผึ้งพันธุ์ - โดย doa - 12-04-2015, 10:14 AM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม