11-30-2015, 03:47 PM
วิจัยและพัฒนาพันธุ์ดาหลาโดยวิธีการผสมเกสรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ณัฐฏา ดีรักษา, ไพนุดิษฐ์ สืบสิงห์, สมนึก หอมนุ่น, ถมมะนา ไกยะฝ่าย, ทวี แจ่มจันทร์ และสุทธาชีพ ศุภเกสร
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา (ส่วนแยกธารโต) และศูนย์วิจัยพืชสวนเลย
ณัฐฏา ดีรักษา, ไพนุดิษฐ์ สืบสิงห์, สมนึก หอมนุ่น, ถมมะนา ไกยะฝ่าย, ทวี แจ่มจันทร์ และสุทธาชีพ ศุภเกสร
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา (ส่วนแยกธารโต) และศูนย์วิจัยพืชสวนเลย
ในธรรมชาติดาหลาสามารถผสมเกสรได้โดยอาศัยนกกินปลีเป็นตัวช่วยในการผสมเกสรดาหลามีการขยายพันธุ์ที่นิยมด้วยการแยกหน่อ แต่การเพาะเมล็ดไม่เป็นที่นิยมเพราะเมล็ดหายาก พันธุ์ที่ได้ไม่ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ มีความหลากหลายของพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ด หาวิธีที่ช่วยในการผสมเกสรของดาหลาเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ดาหลาให้มีลักษณะตามที่ต้องการ จึงได้หาวิธีการผสมเกสรโดยเลียนแบบธรรมชาติในการช่วยผสมเกสรดอกดาหลา และได้คิดทำอุปกรณ์ที่ช่วยในการผสมเกสรดาหลาจากลวด ทำสองอันให้ปลายแบนมนและปลายเป็นรูปตัววี (V) เพื่อช่วยในการเขี่ยเกสรตัวผู้ออก และช่วยผสมเกสรดอกดาหลา เวลาที่เหมาะสมในการผสมเกสรดอกดาหลาช่วงเช้าเวลา 05.00 น. ถึง 09.00 น. คัดเลือกพันธุ์ดาหลาที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ จากสายพันธุ์ที่ได้ทำการรวบรวมไว้ และคัดเลือกได้ 5 สายพันธุ์ คือ ดอกสีแดง, ดอกสีชมพู, ดอกสีขาว, ดอกสีแดงคล้ายดอกบัว และดอกสีแดงคล้ายดอกกุหลาบ พบว่าลูกผสมรุ่นที่ 1 มีลักษณะดอกเหมือนดอกดาหลาทั่วไปแต่ความนูนตรงกลางดอกลดลง มีคู่ผสมที่เกิดจากดอกคล้ายดอกบัวกับดอกคล้ายดอกกุหลาบคู่เดียวที่ลักษณะดอกเป็นดอกคล้ายดอกบัวตรงกลางดอกไม่นูน ลูกผสมรุ่นที่ 2 มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากคู่ผสมอื่นๆ มี 1 ต้น ลักษณะรูปร่างดอกคล้ายถ้วยแก้ว กลีบประดับชั้นนอกสีแดงเข้ม ชั้นในสีชมพูเข้ม ตรงกลางดอกไม่นูนขึ้นมา มีการเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิต 60-70 ดอก/กอ/ปี แต่ออกดอกปีละครั้ง ส่วนลูกผสมคู่อื่นๆ มีการเจริญเติบโตดีให้ผลผลิต 60-80 ดอก/กอ/ปี ออกดอกตลอดปี