การประเมินผลกระทบจากสารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสต่อสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ปลูกผัก
#1
การประเมินผลกระทบจากสารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสต่อสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ปลูกผักจังหวัดนครปฐม
สิริพร เหลืองสุชนกุล, ปภัสรา คุณเลิศ และมลิสา เวชยานนท์
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร


          การวิจัยเพื่อประเมินผลกระทบของสารป้องกันกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสต่อสุขภาพเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการวิจัยในปี 2563 - 2564 ในพื้นที่ปลูกผัก จังหวัดนครปฐม ที่มีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสในการผลิตผักอย่างยาวนานโดยใช้การประเมินความเสี่ยง โดยสารบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarker of exposure) ที่ตรวจวิเคราะห์ ได้แก่ สาร Dialkyl phosphates (DAPs) ในปัสสาวะ (ได้แก่ Diethyl phosphate (DEP), Diethyl thiophosphate (DETP), Dimethyl phosphate (DMP) and Dimethyl thiophosphate (DMTP)) ตรวจวิเคราะห์โดยวิธี Gas Chromatograph และการตรวจระดับการทำงานของเอนไซม์กลุ่ม Cholinesterase ได้แก่ Acetylcholine esterase (AChE) and Serum choline esterase (SChE) ตรวจวิเคราะห์โดยวิธี Spectrophotometry ส่วนการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดิน น้ำ และผัก ใช้วิธี Gas Chromatograph เช่นเดียวกัน ผลการวิจัยจากแบบสอบถามพบว่าเกษตรกรมีทัศนคติที่ดีในการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงอย่างปลอดภัยและถูกวิธี รวมทั้งมีความรู้ในการปฏิบัติตนในการใช้สาร ซึ่งความรู้ดังกล่าวฯ เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าถึง/ได้รับมาจากการฝึกอบรมโดยกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุข ผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสโดยใช้กระดาษทดสอบ Cholinesterase แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยและเสี่ยง ผลการตรวจวัดระดับการทำงานของเอนไซม์ Acetylcholine esterase (AChE) และ Serum choline esterase (SChE) ในตัวอย่างเลือดของเกษตรกร ในปี 2563 พบว่ามีความสอดคล้องกับผลตรวจจากการใช้กระดาษทดสอบ Cholinesterase ส่วนสารเมตาบอไลท์ กลุ่มไดอัลคิลฟอสเฟต (Dialkylphosphates (DAPs)) ในปัสสาวะของเกษตรกร พบชนิด Diethyl phosphate (DEP) Diethyl thiophosphate (DETP) Dimethyl phosphate (DMP) และ Dibuthyl phosphate (DBP) (รวมจำนวน 6 ราย จาก 20 ราย ในปี 2563 และจำนวน 6 ราย จาก 15 ราย ในปี 2564) ผลการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง พบว่าตรวจพบทั้งในตัวอย่างดิน น้ำ และผัก ในปริมาณที่ต่ำกว่าความเข้มข้น/ปริมาณต่ำสุดที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ (Limit of Quantitation; LOQ) (LOQ ในดิน เท่ากับ 0.01 mg/kg และ LOQ ในน้ำเท่ากับ 0.1 μg/L) ผลการประเมินความเสี่ยงพบว่าปริมาณสารพิษตกค้างที่ตรวจพบไม่มีผลกระทบต่อมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแหล่งที่เกษตรกรได้รับสารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสจากการรับสัมผัสสารพิษจากการใช้ในแปลง และ/หรือจากกิจกรรมอื่นๆ

คำหลัก: การประเมินความเสี่ยง สารป้องกันกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส การทำงานของเอนไซม์ โคลีนเอสเตอเรส สารเมทาบอไลท์ไดอัลคิลฟอสเฟส สารพิษตกค้าง


ไฟล์แนบ
.pdf   45. การประเมินผลกระทบจากสารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสต่อสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ปลูกผักจังหวัดนครปฐม.pdf (ขนาด: 501.94 KB / ดาวน์โหลด: 337)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การประเมินผลกระทบจากสารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสต่อสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ปลูกผัก - โดย doa - 10-28-2022, 10:23 AM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม