การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและประเมินคุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
#1
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและประเมินคุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
จารุวรรณ บางแวก, อนุวัฒน์ รัตนชัย, อรวรรณ จิตต์ธรรม, จารุรัตน์ พุ่มประเสริฐ และภัควิไล ยอดทอง

          วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ เพื่อหาแนวทางการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อลดการสูญสียผลผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพและเพิ่มมูลค่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดำเนินการที่ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร และแปลงเกษตรกร จังหวัด นครราชสีมา และนครสวรรค์ ตั้งแต่ปี 2560-61 ผลการทดลองสรุปได้ว่า การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อลดการสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ คือ อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมที่ทำให้ปริมาณและคุณภาพสูง ต้องเก็บเกี่ยวไม่เกิน 44 วันหลังออกดอก ความชื้นเมล็ด ประมาณ 25 - 28% คุณภาพที่เปลี่ยนแปลงตามอายุเก็บเกี่ยว ถ้าเก็บเกี่ยวล่าช้า คุณภาพจะต่ำลง คือ ความหนืดสูงสุดของแป้งสุก โปรตีน น้ำตาล เมื่อเก็บเกี่ยวล่าประมาณ 51 วันหลังออกดอกจะทำให้มีการสูญเสียทั้งปริมาณและคุณภาพมากที่สุด ความชื้นที่เหมาะสมสาหรับการเก็บรักษาเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ไพโอเนียร์ ที 60 และพันธุ์แปซิฟิก 339 ควรเก็บที่ความชื้นเมล็ดเริ่มต้น 14% มีโอกาสพบสารแอฟลาทอกซินในปริมาณน้อย วิธีลดความชื้นที่เหมาะสมสาหรับเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์3 โดยไม่ทำให้คุณภาพเมล็ดเปลี่ยนแปลงไปเพื่อเก็บรักษาในสภาพอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 6 เดือน คือ วิธีการอบที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที แล้วเปลี่ยนมาอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นวิธีที่ใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด คือ 10 ชั่วโมง พบปริมาณสารพิษแอฟลาทอกซินต่ำที่สุด คือ 14.08 ppb ถึงแม้ว่าโครงสร้างเปลือกหุ้มเมล็ดจะถูกทาลายโดยความร้อนแต่ก็ไม่มีผลต่อโครงสร้างของเม็ดแป้งและคุณสมบัติทางเคมีอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง การเก็บรักษาเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโรงเก็บที่ไม่สามารถควบคุมควบคุมได้ บรรจุเมล็ดในภาชนะรูปแบบต่ำง ๆ คือ การกอง big bag ขนาด 500 กิโลกรัม กระสอบปุ๋ยพลาสติก กระสอบป่าน ขนาด 50 กิโลกรัม การสูญเสียด้านคุณภาพและปริมาณจะไม่ต่ำงกัน ควรเก็บนานไม่เกิน 1 เดือน เพื่อรักษาคุณภาพและปริมาณการสูญเสียต่ำ การเพิ่มมูลค่าทั้งแป้งจากเมล็ดและวัสดุเหลือใช้ คือ แป้ง ฟลาวข้าวโพดสามารถนามาทาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ เช่น ขนมปังกรอบปราศจากกลูเตน สตาร์ชแป้งข้าวโพดสามารถนามาทาผลิตภัณฑ์ ประเภทเส้นเพื่อลดปริมาณแป้งถั่วเขียว และแป้งสาลีได้ เช่น ซ่าหริ่ม พาสต้า แต่ยังต้องผสมแป้งถั่วเขียว และแป้งสาลี ตามลาดับ แป้ง และวัสดุเหลือใช้จากข้าวโพด เช่น ซังและเปลือกข้าวโพดสามารถนามาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนในรูปของเอทานอลได้ แป้งข้าวโพดสามารถผลิตเอทานอลได้ 1.60 - 2.40% ใช้เอนไซม์ α-amylase และยีสต์ขนมปังในกระบวนการหมักและการย่อย ตามลาดับ ซังและเปลือกข้าวโพดควรใช้กรดซัลฟิวริคเข้มข้น 0.5% (v/v) ปรับสภาพตัวอย่างก่อนนามาย่อยด้วยเอนไซม์เซลลูเลสและหมักด้วยยีสต์ขนมปังซึ่งสามารถผลิตเอทานอลได้ 0.20 - 0.30% ซึ่งปริมาณเอทานอลที่ผลิตได้มีปริมาณน้อยกว่าแป้งข้าวโพด 4.60% เมื่อเทียบกับน้าหนักแห้ง สามารถประเมินคุณภาพและองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดและแป้งฟลาวข้าวโพดได้ โดยใช้เทคนิค Near Infrared Spectroscopy (NIRS) สามารถนามาใช้ โดยใช้หลักการสะท้อนแสงที่ความยาวช่วงคลื่น คือ ประเมินความชื้น โปรตีน อมิโลส น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโครส ค่าความหืน และปริมาณสารแอฟลาทอกซินในเมล็ดข้าวโพด และประเมินความชื้น ค่าความหนืดสูงสุด น้ำตาลซูโครส ค่าความเป็นกรดและปริมาณสารแอฟลาทอกซินในแป้งฟลาวข้าวโพด ที่ความยาวคลื่น 400 - 2500 นาโนเมตร ประเมินโปรตีน อมิโลส กลูโคสในแป้งฟลาว และค่าความหนืดสูงสุด ค่าความเป็นกรดในเมล็ดข้าวโพด ที่ความยาวคลื่น 800 - 2500 นาโนเมตร ประเมินค่าความหืนในแป้งฟลาวข้าวโพด ที่ความยาวคลื่น 1000 - 2500 นาโนเมตร
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและประเมินคุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ - โดย doa - 05-31-2019, 10:38 AM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม