04-18-2019, 11:49 AM
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสของพริกสาเหตุจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Colletotrichum capsici
อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว, ธารทิพย ภาสบุตร, พชร ธิตานนท์, ดารณี เรืองผล, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
อมรรัชฏ์ คิดใจเดียว, ธารทิพย ภาสบุตร, พชร ธิตานนท์, ดารณี เรืองผล, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
การทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดโรคแอนแทรคโนสของพริกในแปลงทดลอง ปีที่1 ต.ทุ่งทอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีพ่นสาร azoxystrobin 25% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร กรรมวิธีพ่นสาร difenoconazole 25% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร กรรมวิธีพ่นสาร hexaconazole 5% W/V SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร กรรมวิธีพ่นสาร prochloraz 45% W/V EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร กรรมวิธีพ่นสาร mancozeb 80% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร กรรมวิธีพ่นสาร azoxystrobin 20% + difenoconazole 12.5% W/V SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า (กรรมวิธีควบคุม) พบว่ากรรมวิธีที่พ่นสาร ทั้ง 6 ชนิดเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคไม่แตกต่างทางสถิติ แต่แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับกรรมวิธีพ่นน้าเปล่าและไม่พบผลกระทบของสารทดลองต่อพืช