10-12-2015, 03:45 PM
วิจัยและพัฒนาการจัดการโรคมะเม่า
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการศึกษาโรคมะเม่าและเก็บตัวอย่างโรคในปี 2554 ที่อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร พบโรคใบจุดสาหร่าย ราดำ อาการเปลือกแตกยางไหล และอาการต้นโทรม ใบเหลือง ได้นำตัวอย่างมาแยกเชื้อโดยวิธี Tissue Transplantings และจำแนกชนิดของเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อภายใต้กล้องจุลทรรศน์และศึกษาลักษณะโคโลนีของเชื้อ พบเชื้อดังนี้ โรคใบจุดสาหร่าย สาเหตุเกิดจาก Cephaleuros virescens ราดำ อาการเปลือกแตกยางไหล จำแนก ชนิดเป็นรา Lasiodiplodia theobromae แยกเชื้อจากเปลือกต้นมะเม่า จากอาการอาการต้นโทรมใบเหลือง พบราโคโลนีสีแดง จำแนกชนิดเป็นรา Fusarium จากการแยกเชื้อได้ครั้งนี้ ได้เก็บเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ที่กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เพื่อนำมาศึกษาการพิสูจน์โรคต่อไปเพื่อเป็นการยืนยันว่าเชื้อที่แยกได้นั้นเป็นสาเหตุของโรคนั้นจริง
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการศึกษาโรคมะเม่าและเก็บตัวอย่างโรคในปี 2554 ที่อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร พบโรคใบจุดสาหร่าย ราดำ อาการเปลือกแตกยางไหล และอาการต้นโทรม ใบเหลือง ได้นำตัวอย่างมาแยกเชื้อโดยวิธี Tissue Transplantings และจำแนกชนิดของเชื้อโดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อภายใต้กล้องจุลทรรศน์และศึกษาลักษณะโคโลนีของเชื้อ พบเชื้อดังนี้ โรคใบจุดสาหร่าย สาเหตุเกิดจาก Cephaleuros virescens ราดำ อาการเปลือกแตกยางไหล จำแนก ชนิดเป็นรา Lasiodiplodia theobromae แยกเชื้อจากเปลือกต้นมะเม่า จากอาการอาการต้นโทรมใบเหลือง พบราโคโลนีสีแดง จำแนกชนิดเป็นรา Fusarium จากการแยกเชื้อได้ครั้งนี้ ได้เก็บเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ที่กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เพื่อนำมาศึกษาการพิสูจน์โรคต่อไปเพื่อเป็นการยืนยันว่าเชื้อที่แยกได้นั้นเป็นสาเหตุของโรคนั้นจริง