12-12-2018, 10:29 AM
ผลของอุณหภูมิและความชื้นที่มีต่อความเสียหายจากการทำลายของบั่วกล้วยไม้, Contarinia maculipennis Felt ในกล้วยไม้สกุลหวาย
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, วลัยพร ศะศิประภา, กรกต ดำรักษ์, พวงผกา อ่างมณี และธีราทัย บุญญะประภา
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มสารสนเทศการเกษตร ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, วลัยพร ศะศิประภา, กรกต ดำรักษ์, พวงผกา อ่างมณี และธีราทัย บุญญะประภา
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มสารสนเทศการเกษตร ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
บั่วกล้วยไม้เป็นศัตรูพืชที่สำคัญที่สามารถสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อผลผลิตกล้วยไม้สกุลหวาย การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของปัจจัยไม่มีชีวิตที่เกี่ยวข้อง (อุณหภูมิ ความชื้น ฝน) ต่อความเสียหายจากการทำลายของบั่วกล้วยไม้ เพื่อมาสร้างแบบจำลองการระบาด ดำเนินการเก็บข้อมูลการทำลายบนช่อดอกของบั่วกล้วยไม้ในแปลงกล้วยไม้สกุลหวายของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีการให้น้ำแบบสปิงเกอร์และระยะเวลาการให้น้ำแตกต่างกัน ระหว่างเดือนเมษายน 2559 และมีนาคม 2560 นำข้อมูลการทำลายบนช่อดอกของบั่วกล้วยไม้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ทำการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยไม่มีชีวิตที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีสหสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของบั่วกล้วยไม้ คือ ฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และสามารถสร้างแบบจำลองการระบาด ได้ 3 แบบ คือ แบบที่ 1 ในหนึ่งสัปดาห์มีฝนตกอย่างน้อย 2 - 3 วัน และมีความชื้นสัมพัทธ์ที่ 18.00 น. มากกว่า 60% อย่างน้อย 2 - 3 วัน และ มีอุณหภูมิ 24 - 27 องศาเซลเซียส ที่ 7.00-8.00 น. อย่างน้อย 2 - 3 วัน แบบที่ 2 ในหนึ่งสัปดาห์มีฝนตกอย่างน้อย 2 - 3 วัน และ มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ 18.00 น. มากกว่า 60% อย่างน้อย 2 - 3 วัน และแบบที่ 3 ในหนึ่งสัปดาห์มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ 18.00 น. มากกว่า 60% อย่างน้อย 2 - 3 วัน และ มีอุณหภูมิ 24 - 27 องศาเซลเซียส ที่ 7.00 - 8.00 น. อย่างน้อย 2 - 3 วัน ซึ่งมีความแม่นยำ 82.97, 82.97 และ 72.34 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแบบจำลองนี้ไม่สามารถนำไปใช้กับการคาดการณ์การระบาดในแปลงกล้วยไม้ที่เป็นแปลงเดี่ยวได้