11-18-2015, 10:31 AM
การศึกษาเชื้อราสาเหตุโรคใบไหม้ใบจุดของปทุมมา
ธารทิพย ภาสบุตร, ทัศนาพร ทัศคร, พีระวรรณ พัฒนวิภาส, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
ธารทิพย ภาสบุตร, ทัศนาพร ทัศคร, พีระวรรณ พัฒนวิภาส, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
จากการสำรวจเก็บตัวอย่างปทุมมาพันธุ์การค้าที่ตำบลสามควายเผือก อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ได้ตัวอย่างใบปทุมมาที่แสดงอาการใบไหม้ใบจุด 5 ตัวอย่าง เมื่อนำมาแยกเชื้อโดยวิธี Tissue transplant ได้เชื้อรา 9 ไอโซเลท ผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐานของเชื้อราเพื่อจำแนกชนิดพบว่า เป็นรา Sphaceloma sp. 3 ไอโซเลท Curvularia sp. 1 ไอโซเลท Acremonium sp. 2 ไอโซเลท Fusarium sp. 1 ไอโซเลท และที่จำแนกชนิดไม่ได้ 2 ไอโซเลท จากนั้นทำการพิสูจน์โรค โดยเตรียมวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของแกลบดิบ ถ่านแกลบ ทราย และปุ๋ยคอก แล้วปลูกปทุมมาพันธุ์เชียงใหม่ชมพูและไข่มุกสยาม ปลูกเชื้อราที่คาดว่าเป็นสาเหตุโรคที่แยกได้ลงบนใบพืช ผลการปลูกเชื้อรา Sphaceloma sp. 3 ไอโซเลท โดยการพ่น spore suspension พบว่า รา Sphaceloma sp. เพียง 1 ไอโซเลท ที่สามารถทำให้ปทุมมาเป็นโรคได้ โดยแสดงอาการจุดสนิมเหมือนกับที่พบในแปลงปลูกแต่อาการปรากฏขึ้นเพียงเล็กนอย ส่วนการปลูกเชื้อรา Curvularia sp. Acremonium sp. และ Fusarium sp. โดยการวาง culture disc ลงบนใบพืชพบว่า รา Curvularia sp. และ Fusarium sp. ไม่ทำให้ใบปทุมมาเป็นโรค ส่วนรา Acremonium sp. ทั้ง 2 ไอโซเลท ทำให้ใบปทุมมาเป็นโรค เกิดอาการใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีวงสีเหลืองล้อมรอบ จากนั้นแยกเชื้อจากจุดแผลที่เกิดขึ้น นำเชื้อที่แยกได้มาศึกษาลักษณะทางสัณฐานพบว่า มีลักษณะเช่นเดียวกับเชื้อราที่ปลูกเชื้อให้กับพืช การทดลองนี้ยังไม่สิ้นสุดยังต้องดำเนินการพิสูจน์โรคซ้ำอีกครั้งและศึกษาลักษณะทางสัณฐานของเชื้อราเพิ่มเติมในปี 2555