01-20-2017, 02:28 PM
การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเมล็ดถั่วเขียวผิวมันในเขตภาคเหนือตอนล่าง
สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, อารีรัตน์ พระเพชร, อรณิชชา สุวรรณโฉม, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, สันติ พรหมคำ และชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ
ศูนย์วัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
สุรศักดิ์ วัฒนพันธุ์สอน, อารีรัตน์ พระเพชร, อรณิชชา สุวรรณโฉม, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, สันติ พรหมคำ และชัยณรงค์ จันทร์แสนตอ
ศูนย์วัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี และศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
เกษตรกรที่ปลูกถั่วเขียวในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่นิยมปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนาโดยอาศัยความชื้นที่มีอยู่ในดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวออกจากแปลงนาแล้ว แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้พันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำแนะนำจึงได้ปลูกเปรียบเทียบเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเมล็ดถั่วเขียวในลักษณะแปลงใหญ่โดย ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี กรรมวิธีที่ 1 วิธีปรับใช้ ปลูกแบบหว่าน อัตราเมล็ด 10 กก./ไร่ คลุกเมล็ดด้วยไรโซเบียม อัตรา 200 กรัมต่อเมล็ด 5 กก.ร่วมกับการใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีที่ 2 วิธีเกษตรกร หว่านอัตราเมล็ด 10 กก./ไร่ ไม่คลุกไรโซเบียม ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ จังหวัดสุโขทัย ผลการทดสอบพบว่า วิธีปรับใช้ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าวิธีวิธีเกษตรกร คือ 155 และ145 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับจังหวัดเพชรบูรณ์ที่พบว่า วิธีปรับใช้ ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าวิธีเกษตรกร คือ 169 และ 152 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ด้านรายได้สุทธิ ทั้งสองจังหวัดมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน คือ วิธีปรับใช้ให้รายได้สุทธิมากกว่าวิธีเกษตรกร โดยจังหวัดสุโขทัยวิธีปรับใช้มีรายได้สุทธิ ที่ 2,868 บาทต่อไร่ ส่วนวิธีเกษตรกรมีรายได้สุทธิที่ 2,481 บาทต่อไร่ จังหวัดเพชรบูรณ์ วิธีปรับใช้ให้รายได้สุทธิที่ 3,071 บาท ส่วนวิธีเกษตรกรมีรายได้สุทธิที่ 2,732 บาทต่อไร่ ด้านความคุ้มทุน (BCR) จังหวัดสุโขทัย พบว่า วิธีปรับใช้ให้ค่า BCR ที่ 0.9 ขณะที่วิธีเกษตรกรมีค่า BCR ที่ 2.0 แสดงให้เห็นว่าวิธีของเกษตรกรมีความคุ้มค่าการลงทุนดีกว่า ซึ่งแตกต่างกับผลการดำเนินงานของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่พบว่าวิธีปรับใช้มีค่า BCR ที่ 2.3 ขณะที่วิธีเกษตรกรมีค่า BCR ที่ 1.2 ซึ่งสรุปได้ว่าทั้งสองวิธีมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน