การศึกษาสำรวจและประเมินเชื้อพันธุกรรมพืช(พืชพื้นเมือง/ท้องถิ่น)ในธนาคารเชื้อพันธุพืช
#1
การศึกษา สำรวจ และประเมินเชื้อพันธุกรรมพืช (พืชพื้นเมือง/พืชท้องถิ่น)ในธนาคารเชื้อพันธุพืช
รัชนก ทองเวียง, อัญชลี แก้วดวง, สุกัลยา ศิริฟองนุกูล, ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์, วรกิจ ห้องแซง และฐิตามินทร์ แดงชมภู
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และสวพ.1

          โครงการวิจัยนี้ประกอบไปด้วย 2 กิจกรรม รวม 3 การทดลอง ผลการทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1.1 การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสรีรวิทยาของพืชพื้นเมือง/พืชท้องถิ่นในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช จำนวน 50 หมายเลขพันธุ์ ได้แก่ วงศ์ Leguminosae จำนวน 15 หมายเลขพันธุ์ วงศ์ Umbelliferae จำนวน 7 หมายเลขพันธุ์ วงศ์ Lamiaceae จำนวน 8 หมายเลขพันธุ์ และวงศ์ Solanaceae จำนวน 20 หมายเลขพันธุ์ โดยในพืชวงศ์เดียวกันหมายเลขพันธุ์ที่ต่างกัน บางหมายเลขพันธุ์อาจเป็นชนิดหรือพันธุ์เดียวกันแต่เก็บรวบรวมมาจากต่างแหล่งพันธุกรรม ซึ่งควรมีการศึกษาลักษณะต่างๆ ให้มีข้อมูลที่สมบูรณ์มากขึ้น การทดลองที่ 1.2 การจัดทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพืชพื้นเมือง/พืชท้องถิ่นในธนาคารเชื้อพันธุ์พืช โดยใช้เทคนิค Inter-Simple Sequence Repeat (ISSR) และใช้ ISSR primer ในการจัดทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอดังกล่าว จำนวน 20 ชนิด ได้ผลดังนี้ พืชที่อยู่ในวงศ์ Leguminosae มี ISSR primer ที่สามารถสังเคราะห์แถบดีเอ็นเอที่ชัดเจนและตรวจนับได้ จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ (CA)6GT, (GA)6CC, (AG)7AAC, (AG)7AAG, (AC)8C และ (ATG)6 สามารถแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรมจากลายพิมพ์ดีเอ็นเอได้สูงที่สุดในถั่วปี คิดเป็นร้อยละ 100 พืชที่อยู่ในวงศ์ Lamiaceae มี ISSR primer ที่สามารถสังเคราะห์แถบดีเอ็นเอที่ชัดเจนและตรวจนับได้ จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ (CAC)3GC, (CA)6AC และ (AG)7AA สามารถแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรมจากลายพิมพ์ดีเอ็นเอได้สูงที่สุดในแมงลัก คิดเป็นร้อยละ 71.4 พืชที่อยู่ในวงศ์ Umbelliferae มี ISSR primer ที่สามารถสังเคราะห์แถบดีเอ็นเอที่ชัดเจนและตรวจนับได้ จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ (CAC)3GC, (CA)6AC, (GAG)3GC, (CA)6GT, (AG)7AAG, (AG)8G, (GA)8C และ (CTC)6 สามารถแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรมจากลายพิมพ์ดีเอ็นเอได้สูงที่สุดในผักชีลาว คิดเป็นร้อยละ 64.3 และพืชที่อยู่ในวงศ์ Solanaceae มี ISSR primer ที่สามารถสังเคราะห์แถบดีเอ็นเอที่ชัดเจนและตรวจนับได้ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ (CAC)3GC, (CA)6AC, (CA)8GT, (AG)7AA, (AG)8T, (AG)8C, (AG)8G, (ATG)6 และ A(CA)8T สามารถแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรมจากลายพิมพ์ดีเอ็นเอได้สูงที่สุดในมะเขือขื่น คิดเป็นร้อยละ 90 และการทดลองที่ 2.1 การรวบรวม และฟื้นฟูพันธุ์บุก (Amorphophallus spp.) ในประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พบว่า สามารถวัดพิกัด GPS ได้ทั้งหมดรวม 128 จุด บุกที่สำรวจพบได้ 14 ชนิด การศึกษาการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตหัวบุกเพื่อการใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม ในปีที่ 1 และปีที่ 2 ทั้งบุกโคราช และบุกด่าง (เชียงใหม่) มีค่าสีใบ (SCMR) สูงกว่าบุกเนื้อทรายและเนื้อเหลือง และที่อายุเก็บเกี่ยวบุกโคราชให้น้ำหนักแห้งต่อหัวสูงที่สุด (123.96 กรัม) การศึกษาการการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตบุกที่ใช้ต้นอ่อนและช่อดอกเป็นอาหาร บุกเตียง มีน้ำหนักสดส่วนเหนือดิน น้ำหนักแห้งส่วนเหนือดิน และผลผลิตต้นสดต่อไร่สูงที่สุด (30.46 กรัม 3.42 กรัม และ 541.34 กิโลกรัม ตามลำดับ)


ไฟล์แนบ
.pdf   195_2558.pdf (ขนาด: 8.64 MB / ดาวน์โหลด: 1,390)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การศึกษาสำรวจและประเมินเชื้อพันธุกรรมพืช(พืชพื้นเมือง/ท้องถิ่น)ในธนาคารเชื้อพันธุพืช - โดย doa - 12-02-2016, 01:55 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม