การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวสละ
#1
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวสละ
อภิรดี กอร์ปไพบูลย์, สำเริง ช่างประเสริฐ, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, วัชรี วิทยวรรณกุล และมาลัยพร เชื้อบัณฑิต

          การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวสละ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้วิธีการใช้สารเคลือบผิวและการใช้กรดอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการลดการเกิดโรคของผลสละหลังการเก็บเกี่ยวสามารถยืดอายุการเก็บรักษาให้ยังคงคุณภาพดีเพื่อพัฒนาสู่การส่งออก ดำเนินการในปี 2557 - 2558 ที่ห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี วางแผนการทดลองแบแบบ Split plot Design ประกอบด้วย 2 การทดลอง 1) การศึกษาชนิดของสารเคลือบผิวที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางคุณภาพของผลสละ Main plot คือ การเคลือบผิวผลด้วยน้ำกลั่น, chitosan 0.5%, สาร CMC เปลือกทุเรียน 0.5% Carnauba 2% และ Shellac 25% 2) การศึกษาการใช้กรดอินทรีย์เพื่อควบคุมโรคของสละภายหลังการเก็บเกี่ยว Main plot คือ จุ่มด้วยน้ำกลั่น, ascorbic 10% และ acetic 3% Sup plot จำนวนวันที่เก็บรักษา แล้วนำไปเก็บรักษาที่ 2 อุณหภูมิ 13 ± 2 องศาเซลเซียส พบว่าการเคลือบผิวผลสละแล้วนำไปเก็บรักษาสละที่อุณหภูมิ 13 ± 2 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาสละได้นาน 21 วัน โดยที่คุณภาพภายนอกและภายในไม่เปลี่ยนแปลง สารเคลือบผิวสละไม่ทำให้ของแข็งที่ละลายน้ำได้แตกต่างกัน การเคลือบผิวด้วย Carnauba 5% มีการสูญเสียน้ำหนักน้อยที่สุด มีความสว่างของเปลือก ค่าสีแดงของเปลือก ค่าความสว่างของเนื้อ และค่าสีเหลืองของเนื้อดีทีสุด มีปริมาณกรดที่ไตเตรทได้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด การเคลือบผิวสละแล้วนำไปเก็บรักษาสละที่อุณหภูมิ 28 ± 2 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาสละได้นาน 9 วัน โดยที่คุณภาพภายนอกและภายในไม่เปลี่ยนแปลง การเคลือบผิวผลด้วย Carnauba 5% มีการลดลงของน้ำหนักสดและปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้น้อยที่สุดและมีค่าความสว่างเปลือกและค่าสีแดงเปลือกดีที่สุด การเคลือบผิวผลด้วย CMC 0.5% มีค่าลดลงของปริมาณกรดที่ไตเตรทได้น้อยที่สุด และมีค่าความสว่างของเนื้อ (L*) ดีที่สุด ส่วนการเคลือบผิวผลด้วย ไคโตซาน 0.5% มีค่าสีเหลืองดีที่สุดและมีการสูญเสียวิตามินซีน้อยที่สุด การใช้กรด ascorbic acid 10% ร่วมกับบรรจุภัณฑ์รักษาความชื้นที่อุณหภูมิการเก็บรักษา 2 อุณหภูมิ คือ อุณหภูมิห้อง 28+2 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำ 13+2 องศาเซลเซียส พบว่าสละสุมาลีที่จุ่ม ascorbic acid 10% นาน 5 นาที ก่อนบรรจุในบรรจุภัณฑ์รักษาความชื้นเหมือนการส่งออกมังคุดที่อุณหภูมิ 28+2 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 12 วัน และ 13+2 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน 30 วัน โดยมีการสูญเสียน้ำหนักน้อยที่สุด คือ 18.22% และ 2.58% ตามลำดับ ค่าสีแดงของเปลือก คือ 34.75 % และ 28.20 % ตามลำดับ ค่าความสว่างของเปลือก คือ 37.42% และ 38.10 % ตามลำดับ ค่าสีเหลืองของเนื้อ คือ 36.00% และ 36.25 % ตามลำดับ และค่าความสว่างของเนื้อคือ 71.04% และ 72.14% ตามลำดับ สูงที่สุด และมีรสชาติใกล้เคียงกับสละสด สามารถยับยั้งการเกิดโรคผลเน่าได้ คือ 1.10 % และ 3.05% ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   136_2558.pdf (ขนาด: 1.94 MB / ดาวน์โหลด: 1,524)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวสละ - โดย doa - 11-28-2016, 01:22 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม