11-21-2016, 10:42 AM
พัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, ศิรากานต์ ขยันการ, อรุณี ใจเถิง, นฤนาท ชัยรังษี, จารุฉัตร เขนยทิพย์, ชัยกฤติ พรหมา และสุมิตร วิลัยพร
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, ศิรากานต์ ขยันการ, อรุณี ใจเถิง, นฤนาท ชัยรังษี, จารุฉัตร เขนยทิพย์, ชัยกฤติ พรหมา และสุมิตร วิลัยพร
การรวบรวม จำแนก ประเมินคุณค่า และพัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย (ศวส.เชียงราย) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ (ศวพ. เชียงใหม่) ระหว่างปี 2554 - 2558 ซึ่งที่ ศวส. เชียงรายรวบรวมพันธุ์ลิ้นจี่ได้ 50 พันธุ์/สายพันธุ์ ในพื้นที่ 8 ไร่ และ ศวพ.เชียงใหม่ได้ 34 พันธุ์/สายพันธุ์ ในพื้นที่ 5 ไร่ ผลการทดลองพบว่า ใบ ดอก ผล และเมล็ดแตกต่างกันตามพันธุ์ ลักษณะที่ใช้จำแนกพันธุ์ได้ คือ รูปร่างผล เปลือกผล สีเนื้อ และช่วงการออกดอก ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพันธุ์ภาคกลาง เช่น ค่อม ช่อระก าและกะโหลกใบขิงซึ่งออกดอกติดผลเร็ว เปลือกผลมีหนามแหลมถี่และเปลือกสีแดงคล้ำ ส่วนกลุ่มพันธุ์ภาคเหนือเช่น ฮงฮวยและโอเฮียะออกดอกติดผลช้ากว่า เปลือกผลมีหนามสั้นห่าง และเปลือกสีแดงสด บางพันธุ์มีเมล็ดลีบได้แก่ พันธุ์กิมเจ็ง และ salathiel ได้ทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมลิ้นจี่จนครบทุกลักษณะแล้ว 31 พันธุ์/สายพันธุ์ ได้เพิ่มเติมและพิมพ์เป็นเอกสารวิชาการพันธุ์ลิ้นจี่ทุกปี
ปี 2554 - 2556 ได้คัดเลือกพันธุ์สำหรับใช้ผสมพันธุ์ให้ได้พันธุ์ใหม่ที่ออกดอกติดผลหรือเก็บเกี่ยวได้เร็วและคุณภาพดี ทำการผสมพันธุ์จำนวน 63 คู่ผสมแล้วปลูกต้นลูกผสมรวม 560 ต้น ในแปลงคัดเลือกลูกผสม พร้อมทั้งได้นำยอดลูกผสมบางส่วนไปเสียบยอดบนต้นพันธุ์ฮงฮวย 15 ต้น ที่ออกดอกติดผลแล้วที่ศวส.เชียงราย เพื่อชักนำให้ออกดอกติดผลเร็วขึ้น การศึกษาลักษณะลูกผสมจะดำเนินการในโครงการรวบรวม จำแนก ประเมินคุณค่า และพัฒนาพันธุ์ลิ้นจี่ระยะที่ 2 (2559 - 2564)